ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเดือนมกราคม 2552 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังคงจะเผชิญกับภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการทรุดตัวลงในอัตราที่รุนแรงที่สุดในประวัติการณ์ของการส่งออก และการใช้จ่ายในประเทศ ทั้งทางด้านการลงทุนและการบริโภค
e การใช้จ่ายของภาคเอกชน ... ทำลายสถิติหดตัวเป็นประวัติการณ์
-
การบริโภคภาคเอกชนดิ่งลงแรงสุดในประวัติศาสตร์ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงอย่างรุนแรงถึงร้อยละ 4.5 (YoY) ในเดือนม.ค.2552 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ในเดือนธ.ค.2551
-
การลงทุนภาคเอกชนหดตัวหนักสุดเป็นประวัติการณ์ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันอีกร้อยละ 7.9 (YoY) ในเดือนม.ค.2552 ซึ่งนับเป็นอัตราการหดตัวที่มากที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดทำข้อมูลในปี 2543 ต่อเนื่องจากที่หดตัวลงร้อยละ 3.6 ในเดือนธ.ค.2551
e การผลิตภาคอุตสาหกรรมทำลายสถิติการหดตัวเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่
e ภาคต่างประเทศ ... ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องแม้การส่งออกหดตัวลง
ทั้งนี้ การส่งออกหดตัวลงอีกร้อยละ 25.3 (YoY) ในเดือนม.ค.2552 หลังจากที่หดตัวร้อยละ 15.7 ในเดือนธ.ค.2551
ส่วนการนำเข้าหดตัวถึงร้อยละ 36.5 (YoY) ในเดือนม.ค. 2552 ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 8.8 ในเดือนธ.ค.2551
-
ดุลการค้าบันทึกยอดเกินดุลต่อเนื่อง ทั้งนี้ การนำเข้าที่ดิ่งลงในอัตราที่รุนแรงกว่าการหดตัวของการส่งออก ได้ส่งผลให้ดุลการค้าพลิกกลับมาบันทึกยอดเกินดุล 1,688.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนม.ค. 2552 ต่อเนื่องจากที่เกินดุล 495.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค.2551 และเมื่อรวมยอดเกินดุลการค้าเข้ากับดุลบริการฯ ซึ่งบันทึกยอดเกินดุลสูงถึง 600.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนม.ค. ได้ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดบันทึกยอดเกินดุลเช่นกันที่ 2,288.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนม.ค.2552 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่เกินดุลเพียง 91.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค.2551
ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดเดือนม.ค.2552 ของธปท. ยังคงตอกย้ำให้เห็นถึงสภาวะที่เปราะบางของเศรษฐกิจไทยที่ไม่อาจหลีกหนีแนวโน้มการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในรอบนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า อุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนซึ่งจะยังคงมีแนวโน้มซบเซาอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 นั้น นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายและอาจทำให้ภาครัฐต้องเร่งผลักดันเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมๆ ไปกับเร่งเบิกจ่ายวงเงินจากงบประมาณ ให้เข้าสู่ระบบอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายในประเทศยังคงมีสัญญาณที่อ่อนตัวอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีแรงหนุนจากระดับราคาโดยรวมที่อาจทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องก็ตาม ในขณะที่ มองว่า การส่งออกของไทยยังคงมีแนวโน้มหดตัวเป็นตัวเลขสองหลักอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 โดยภาคส่งออกของไทยจำต้องเผชิญกับผลกระทบจากภาวะถดถอยอย่างรุนแรงของประเทศคู่ค้าหลักทั้งกลุ่ม G-3 และประเทศในแถบเอเชีย สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มีความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจไทยอาจต้องเผชิญกับอัตราการขยายตัวที่ติดลบของการใช้จ่ายภาคเอกชน พร้อมๆ กับการหดตัวสูงเป็นตัวเลขสองหลักของภาคส่งออก โดยคาดการณ์กรอบการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ในกรอบหดตัวร้อยละ 1.5 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.2 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2551 ขณะที่ การหดตัวของมูลค่าการส่งออกของไทยในปีนี้อาจอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 10.0-16.0 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 16.8 ในปี 2551
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น