Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 ตุลาคม 2553

เศรษฐกิจไทย

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนส.ค. ตอกย้ำโมเมนตัมที่ชะลอลงช่วงไตรมาส 3/2553 (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2946)

คะแนนเฉลี่ย
าพรวมตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเดือนสิงหาคม 2553 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนถึงทิศทางที่ปะปน และมีสัญญาณเชิงลบที่มากขึ้นในเครื่องชี้เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่งออก และการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ การลงทุน และภาคการท่องเที่ยว ยังคงทยอยปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาภาพรวมของเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในช่วงระหว่างเดือนก.ค.-ส.ค. พบว่า บางภาคเศรษฐกิจมีโมเมนตัมของการขยายตัวที่ช้าลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้ แม้ว่าผลส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัจจัยเรื่องฐานเปรียบเทียบที่เริ่มสูงขึ้นในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า แต่ก็คงไม่สามารถปฏิเสธว่า แรงหนุนหลายๆ ส่วน ก็เริ่มเบาบางลงเช่นกัน
พัฒนาการของเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 3/2553 ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3น่าจะมีทิศทางที่ชะลอลงค่อนข้างมากจากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.6 ในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากการส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทย เริ่มเผชิญความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ ราคาส่งออกต่อหน่วยในรูปเงินบาทที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของเงินบาทที่แข็งค่าต่ออัตราการทำกำไรของผู้ประกอบการในภาคส่งออกของไทย
อย่างไรก็ดี การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชน การทยอยฟื้นตัวขึ้นของความเชื่อมั่นภาคเอกชน และแรงหนุนจากการใช้จ่ายของภาครัฐ ก็เป็นปัจจัยบวกที่เข้ามาช่วยชดเชยการชะลอตัวของภาคการส่งออกในช่วงเวลาดังกล่าวไว้บางส่วน และทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะยังคงมีอัตราการขยายตัวในระดับไม่น้อยกว่าร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ในช่วงไตรมาส 3/2553 สำหรับตัวแปรสำคัญที่อาจสะท้อนให้เห็นถึงโมเมนตัมของเศรษฐกิจไทยในช่วงเดือนที่เหลือของปีนั้น อาจประกอบด้วย ความรุนแรงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ตลอดจนการทำความเข้าใจต่อภาคชุมชนเกี่ยวกับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย