Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 พฤศจิกายน 2553

เศรษฐกิจไทย

แม้มีหลายปัจจัยรอหนุนราคาสินค้า...แต่ทางการไทย ยังมีเครื่องมือเพียงพอในการดูแลเงินเฟ้อ (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2976)

คะแนนเฉลี่ย

ม้เดือนตุลาคม 2553 น่าจะเป็นเดือนที่มีหลากหลายปัจจัยหนุนระดับราคาผู้บริโภคให้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งในเรื่องของปัจจัยทางด้านฤดูกาลจากเทศกาลกินเจ และปัจจัยเพิ่มเติมจากการปรับสูงขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีก และผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่อาจสร้างความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคทั่วไปในเดือนตุลาคม 2553 ยังคงมีระดับที่ค่อนข้างทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากปัญหาอุทกภัยในช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคม 2553 ยังคงส่งผลไม่ชัดเจนมากนักต่อราคาสินค้าผู้บริโภค และทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวเกินคาดเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันมาที่ร้อยละ 2.8 (YoY) ในเดือนตุลาคม ต่ำลงจากร้อยละ 3.0 ในเดือนกันยายน ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนตุลาคมทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.1 (YoY) เท่ากับในเดือนกันยายน

แม้แรงกดดันเงินเฟ้อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จะเร่งตัวที่ช้ากว่าที่คาด และน่าจะทำให้ความกังวลต่อความเสี่ยงของเสถียรภาพทางด้านราคาผ่อนคลายลงไปบางส่วนในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า คงจะต้องจับตาทิศทางของราคาสินค้าผู้บริโภคในช่วงเดือนพฤศจิกายน ต่อไปอย่างใกล้ชิด เนื่องจากคาดว่า ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมที่ขยายวงกว้างออกไป อาจหนุนให้ราคาสินค้าอาหารสดในบางหมวดเร่งตัวสูงขึ้น ขณะที่ ยังคงมีอีกหลากหลายปัจจัยที่รอกำหนดทิศทางของเงินเฟ้อในช่วงปี 2554 อาทิ ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ทยอยปรับเพิ่มสูงขึ้นมาแล้วอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ตลอดจนการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานทั้งในส่วนของภาคเอกชนและเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินในเบื้องต้นว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจมีค่าอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 2.5-4.0 ในปี 2554 เทียบกับค่าเฉลี่ยปี 2553 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 3.3-3.6

กระนั้นก็ดี คาดว่า ทางการไทยยังคงมีเครื่องมือเพียงพอที่จะใช้ดูแลความเสี่ยงของเงินเฟ้อในช่วงปีข้างหน้า โดยภาครัฐก็อาจพิจารณาต่ออายุมาตรการบรรเทาค่าครองชีพ และการตรึงราคาพลังงานออกไป ขณะที่ ธปท.ก็ยังคงสามารถกลับมาคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ หลังจากที่อาจจะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.75 ตลอดช่วงที่เหลือของปี 2553 เพื่อประเมินความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย