Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 มีนาคม 2554

เศรษฐกิจไทย

ต้นทุนการผลิต ราคาอาหาร และน้ำมัน อาจหนุนเงินเฟ้อไทยให้พุ่งขึ้นในระยะข้างหน้า (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3054)

คะแนนเฉลี่ย

ะดับราคาสินค้าผู้บริโภคในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ขยับขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนแล้ว ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.87 เนื่องจากต้องเปรียบเทียบกับฐานการคำนวนที่สูงในช่วงเทศกาลตรุษจีนเดือนกุมภาพันธ์ 2553 อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประเมินว่า แรงกดดันเงินเฟ้อของไทยมีโอกาสเร่งตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2/2554 เนื่องจากผู้ประกอบการภาคธุรกิจที่ต้องแบกรับการเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุนการผลิตหลายด้านพร้อมกัน (ต้นทุนวัตถุดิบ/สินค้าขั้นกลาง ต้นทุนทางการเงิน และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นมาแล้วตั้งแต่ต้นปี) อาจยื่นเรื่องขอปรับเพิ่มราคาสินค้ากับกระทรวงพาณิชย์ หลังจากที่มาตรการขอความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้าสิ้นสุดลงในช่วงเดือนมีนาคม 2554

ซึ่งประเด็นสำคัญในช่วงหลายเดือนข้างหน้าสำหรับไทยนั้น คงต้องเตรียมรับมือกับการขยับขึ้นของราคาน้ำมัน ตลอดจนประเมินผลกระทบจากภาวะภัยแล้งที่อาจย้อนรอยกลับมาสร้างความกังวลต่อผลผลิตทางการเกษตรของไทยอีกครั้งเช่นเดียวกับในช่วงปี 2553 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ กรอบประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 2554 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ร้อยละ 2.9-4.0 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และกรอบร้อยละ 2.0-2.6 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้น สามารถรองรับสถานการณ์การปรับเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและน้ำมันไว้ได้ในระดับหนึ่ง แต่กระนั้นก็ดี อัตราเงินเฟ้อก็มีโอกาสพุ่งสูงกว่าร้อยละ 5.0 ในกรณีเลวร้ายที่ราคาน้ำมันโลกยืนระดับสูงเป็นเวลานาน และความแปรปรวนของสภาวะอากาศรุนแรงมากเกินคาด

ทั้งนี้ แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว นอกจากจะมีนัยต่อเนื่องไปยังวัฎจักรการคุมเข้มนโยบายการเงินของธปท. แล้ว (เครือธนาคารกสิกรไทย ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจขยับขึ้นไปที่ร้อยละ 3.25 ภายในสิ้นปี 2554 หากความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้) ก็อาจมีผลย้อนกลับไปที่การพิจารณาค่าจ้างแรงงานของไทยในระยะข้างหน้าอีกด้วย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย