Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 มิถุนายน 2554

เศรษฐกิจไทย

คาดเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยของไทย ยังไม่ถึงจุดสูงสุดของวัฏจักรขาขึ้นรอบนี้ (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3119)

คะแนนเฉลี่ย

ะดับราคาสินค้าผู้บริโภคยังคงปรับตัวขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2554 และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทย ทั้งในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 32 เดือน ที่ร้อยละ 4.19 และร้อยละ 2.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ตามลำดับ โดยแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว ยังคงมีน้ำหนักต่อการพิจารณากำหนดจุดยืนเชิงนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงินของธปท. (กนง.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.75 มาที่ร้อยละ 3.00 ในการประชุมรอบที่ 4 ของปีนี้ พร้อมกับระบุว่า อัตราดอกเบี้ยของไทยยังเป็นขาขึ้น เพื่อดูแลความเสี่ยงเงินเฟ้อ

ภาพของความเสี่ยงเงินเฟ้อที่น่าจะมีแรงกดดันมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 4/2554 ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีโอกาสเคลื่อนเข้าใกล้ร้อยละ 5.0 (YoY) พร้อมๆ กับการยืนเหนือระดับร้อยละ 3.0 (YoY) ของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งเป็นกรอบบนของเป้าหมายเงินเฟ้อ (ร้อยละ 0.5-3.0) ของธปท.ตลอดทั้งไตรมาสตามประมาณการของศูนย์วิจัยกสิกรไทย น่าที่จะทำให้ โจทย์เงินเฟ้อสูง และการดูแลเสถียรภาพราคา เป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดจุดยืนของนโยบายการเงินของธปท.เป็นเชิงคุมเข้มตลอดการประชุมนโยบายการเงิน 4 รอบที่เหลือของปี 2554

ทั้งนี้ สัญญาณจากถ้อยแถลงของกนง.ที่สะท้อนว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังอยู่ในช่วงขาขึ้นเพื่อดูแลความเสี่ยงเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ทำให้เครือธนาคารกสิกรไทยยังคงคาดการณ์ว่า กนง.น่าที่จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในรอบการประชุมเดือนกรกฎาคม 2554 อีกร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 3.25 โดยวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย อาจดำเนินต่อไปอีกในช่วงการประชุมรอบถัดๆ ไปของปี หากโมเมนตัมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การฟื้นกลับคืนมาของการผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญของไทย (หลังการหยุดชะงักในช่วงไตรมาส 2/2554 จากเหตุภัยพิบัติญี่ปุ่น) เกิดขึ้นพร้อมๆ กับแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังไม่ผ่านพ้นระดับที่สูงที่สุดของแนวโน้มขาขึ้นรอบนี้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย