Display mode (Doesn't show in master page preview)

29 กรกฎาคม 2554

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ... เร่งตัวขึ้นจากการใช้จ่ายในประเทศ (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3149)

คะแนนเฉลี่ย
าพรวม เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน 2554 ยังคงสะท้อนถึงทิศทางการขยายตัวในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัญญาณการฟื้นตัวของเครื่องชี้ในส่วนที่เกี่ยวกับ อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ทยอยปรากฎขึ้นหลังปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนคลี่คลายลงตั้งแต่ช่วงปลาย เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
  • ภาคการผลิตและการใช้จ่ายในประเทศเดือนมิ.ย....สะท้อนสัญญาณเชิงบวกบางส่วนโดยการผลิตภาคอุตสาหกรรม พลิกกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) หลังจากที่หดตัวในช่วง 4 เดือนก่อนหน้า โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และเบียร์ ส่วนการใช้จ่ายในประเทศนั้น แม้ทิศทางของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะชะลอตัวมาที่ร้อยละ 3.5 (YoY) และร้อยละ 7.4 (YoY) แต่ก็เป็นผลมาจากฐานการคำนวณเปรียบเทียบในเดือนมิ.ย. 2553 ที่ค่อนข้างสูง ขณะที่ เครื่องชี้องค์ประกอบเกี่ยวกับยอดจำหน่ายยานยนต์ ทยอยฟื้นตัวขึ้นจากที่หดตัวลงในช่วงเดือนก่อนหน้า
  • มูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวสูงจากเดือนก่อนหน้า...หนุนฐานะการเกินดุลต่างประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น (มาที่ 2.0816 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนมิ.ย.) สวนทางกับมูลค่านำเข้าที่ลดลง (มาที่ 1.8930 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนมิ.ย.) ส่งผลให้ดุลการค้าบันทึกยอดเกินดุล เพิ่มขึ้นเป็น 1,885.5 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนมิ.ย. จากที่เกินดุลเพียง 274.3 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนพ.ค. และเมื่อรวมกับการที่ดุลบริการฯ พลิกมาบันทึกยอดเกินดุล 613.2 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนมิ.ย. ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดบันทึก ยอดเกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนในระดับที่สูงถึง 2,498.7 ล้านดอลลาร์ฯ หลังจากที่บันทึกยอดขาดดุลในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าตามการส่งกลับรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนที่ค่อนข้างมากใน ช่วงเวลาดังกล่าว
บทสรุป และแนวโน้มเศรษฐกิจไทย
แม้กิจกรรม ทางเศรษฐกิจของไทยจะเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่กดดันมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2/2554 ทั้งจากการพุ่งสูงขึ้นของแรงกดดันเงินเฟ้อและต้นทุนการผลิต ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่การฟื้นกำลังการผลิตจากฝั่งญี่ปุ่นในระดับที่เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาด การณ์ไว้ และเม็ดเงินสะพัดในช่วงก่อนการเลือกตั้ง น่าที่จะช่วยทำให้ระดับการชะลอตัวที่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2/2554 ของไทยอยู่ในขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2/2554 อาจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.5-0.9 (QoQ,s.a.)

สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หากแรงเสียดทานทางการเมืองลดระดับลง หลังจากที่รัฐบาลชุดใหม่เข้าบริหารประเทศและสามารถผลักดันบางมาตรการ อาทิ นโยบายการปรับเพิ่มรายได้ และโครงการจำนำข้าว ได้ทันภายในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ก็อาจช่วยบรรเทาแรงกดดันที่มีต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน นอกจากนี้ การเร่งฟื้นกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ก็น่าที่จะช่วยหักล้างผลกระทบจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีต่อ ภาคการส่งออกของไทยไปได้บ้างบางส่วน ซึ่งภาพด้านบวกทั้งหมดดังกล่าว เมื่อรวมกับปัจจัยฐานการคำนวณเปรียบเทียบที่มีระดับต่ำในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.0-5.6 (YoY) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ซึ่งทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปี 2554 ขยายตัวอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 3.5-4.5 โดยมีค่ากลางกรณีพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 4.0

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย