Display mode (Doesn't show in master page preview)

31 สิงหาคม 2554

เศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนก.ค...ชะลอตัวทั้งจากปัจจัยภายในและต่างประเทศ (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3166)

คะแนนเฉลี่ย

าพรวมเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2554 สะท้อนถึงความเปราะบางในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงค่อนข้างมาก ซึ่งก็คงต้องยอมรับว่า แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ/ราคาพลังงาน และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวแปรหลักที่เพิ่มความเปราะบางให้กับบรรยากาศการตัดสินใจใช้จ่ายของภาคเอกชน ขณะที่ ทิศทางเศรษฐกิจโลกซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชะลอตัว/ถดถอยในหลายภูมิภาค ก็น่าที่จะเป็นสถานการณ์ที่กดดันให้ภาคการส่งออกของไทย ต้องเผชิญกับโจทย์ที่ยากลำบากไม่น้อยในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

เครื่องชี้เศรษฐกิจในประเทศ...อ่อนไหวต่อปัญหาเงินเฟ้อ-ต้นทุนการผลิตแพง

  • การบริโภคภาคเอกชน หดตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.3 (MoM) และชะลอการเติบโตจากช่วงเดียวกันปีก่อน มาที่ร้อยละ 2.1 (YoY) ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 21 เดือน
  • การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 (MoM) และร้อยละ 6.2 (YoY) ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 19 เดือน

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ...อ่อนไหวต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก

  • การส่งออก เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงร้อยละ 0.1 (MoM) ในเดือนก.ค. แต่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 36.4 (YoY) ในเดือนก.ค. เทียบกับร้อยละ 16.4 ในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี หากหักการส่งออกทองคำที่เพิ่มขึ้นถึงกว่าร้อยละ 3,900 (YoY) แล้ว การส่งออกของไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 30.2 (YoY) ในเดือนก.ค. เท่านั้น
  • การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.8 (MoM) และร้อยละ 1.1 (YoY) ในเดือนก.ค. พลิกจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 (YoY) ในเดือนมิ.ย.

ทั้งนี้ การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง ในเดือนก.ค. 2554 สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนไหวของทิศทางการจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชนที่มาจากปัญหาค่าครองชีพ โดยเฉพาะในส่วนของราคาสินค้าอุปโภค/บริโภค และราคาพลังงานในประเทศ ขณะที่ ภาวะต้นทุนการผลิตที่ได้รับแรงหนุนพร้อมกันหลายด้าน ก็เพิ่มความเปราะบางต่อภาคธุกิจ ซึ่งระดับความรุนแรงจะเพิ่มสูงขึ้นในกรณีของผู้ประกอบการในภาคการส่งออก เนื่องจากในอีกด้านหนึ่งจะต้องเผชิญกับโจทย์การชะลอตัวของเศรษฐกิจแกนหลักของโลก ทั้งในส่วนของกลุ่ม G-3 (สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น) จีน และเอเชียอื่นๆ

สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2554 นั้น แม้ว่ามุมมองในเชิงบวกที่คาดหวังต่อการขยับสูงขึ้นของการใช้จ่ายในประเทศของภาคเอกชน(ภายใต้บรรยากาศที่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการของรัฐบาลใหม่) และการฟื้นตัวของภาคการผลิต (จากที่หยุดชะงักในช่วงไตรมาส 2/2554) และมุมมองในเชิงระมัดระวังต่อทิศทางการส่งออกของไทย (ที่เผชิญกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง) จะไม่แตกต่างไปจากสมมติฐานเดิมของศูนย์วิจัยกสิกรไทยมากนัก แต่ข้อมูลจีดีพีประจำไตรมาส 2/2554 ของไทย ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปี 2554 อาจขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 ในกรณีพื้นฐาน ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 4.0

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย