Display mode (Doesn't show in master page preview)

3 ตุลาคม 2554

เศรษฐกิจไทย

จับตาหลายตัวแปรหนุนเงินเฟ้อในช่วงปลายปี 2554-ต้นปี 2555 (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3185)

คะแนนเฉลี่ย

ะดับราคาสินค้าผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2554 ขยับลงจากระดับในเดือนก่อนหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี โดยเป็นผลจากทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก และมาตรการดูแลราคาพลังงานของรัฐบาลที่ทำให้ราคาพลังงานในประเทศปรับตัวลง หักล้างแรงหนุนเงินเฟ้อในส่วนที่มาจากการขยับขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหารท่ามกลางผลกระทบจากภาวะอุทกภัย ทั้งนี้ ราคาสินค้าผู้บริโภคในเดือนกันยายน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.33 (MoM) และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 4.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี (YoY) ในเดือนกันยายน จากร้อยละ 4.29 (YoY) ในเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงขยับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.92 (YoY) ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบกว่า 3 ปีครั้งใหม่ เทียบกับร้อยละ 2.85 (YoY) ในเดือนสิงหาคม

สำหรับทิศทางเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี 2554 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า แรงกดดันเงินเฟ้อน่าที่จะยังคงทรงตัวในระดับสูง โดยความผันผวนของราคาสินค้าในหมวดอาหาร และผลของมาตรการจำนำข้าว ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่ยังอาจหนุนทิศทางเงินเฟ้อได้อย่างต่อเนื่องในระยะข้างหน้า ท่ามกลางผลกระทบของภาวะอุทกภัยในหลายพื้นที่ของไทย และการจ่อขยับขึ้นของราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคบางรายการ แม้ว่ามาตรการบรรเทาค่าครองชีพรถเมล์-รถไฟฟรี การตรึงราคาก๊าซ LPG/NGV ภาคขนส่งไปจนถึงกลางเดือนมกราคม 2555 และสถานการณ์ความเสี่ยงในเศรษฐกิจต่างประเทศ อาจช่วยชะลอแรงกดดันเงินเฟ้อบางส่วนไว้ ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กรอบคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไทยในปี 2554 ที่ร้อยละ 3.7-4.0 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และร้อยละ 2.3-2.6 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ยังน่าจะสามารถรองรับสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้

อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหลายตัวแปรรอหนุนทิศทางเงินเฟ้อในปี 2555 ทั้งที่ผ่านมาทางแรงผลักด้านอุปสงค์ ที่น่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการปรับเพิ่มรายได้ของรัฐบาล และแรงผลักทางด้านอุปทาน ที่อาจเข้ามาในช่วงเวลาที่ราคาพลังงานหลายประเภทของไทยทยอยขยับขึ้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย