Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 ธันวาคม 2554

เศรษฐกิจไทย

เงินเฟ้ออาจผ่อนคลายลงในไตรมาส 1/2555 ... แต่แนวโน้มทั้งปี 2555 ยังทรงตัวสูง (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3217)

คะแนนเฉลี่ย

าวะอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายต่อแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม และเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า ยังคงมีผลหนุนทิศทางราคาสินค้าผู้บริโภคในเดือนพฤศจิกายน 2554 ผ่านการปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหาร/เครื่องดื่ม โดยเฉพาะราคาในกลุ่มอาหารสด แม้ว่ากำลังซื้อของประชาชนบางกลุ่มจะหายไป และความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าในภาพรวมส่วนใหญ่ยังคงถูกดูแลจากกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิดก็ตาม

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยับขึ้นร้อยละ 0.21 (MoM) จากเดือนก่อนหน้า ในเดือนพฤศจิกายน ต่อเนื่องจากที่ปรับขึ้นร้อยละ 0.19 ในเดือนตุลาคม และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.19 (YoY) เท่ากับในเดือนตุลาคม โดยผลกระทบจากน้ำท่วมที่หนุนราคาสินค้าในหมวดอาหาร/เครื่องดื่ม (เพิ่มร้อยละ 0.53 MoM) หักล้างผลของการปรับตัวลงของราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่กดดันราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม (ลดลงร้อยละ 0.01 MoM) ได้ทั้งหมด ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนพฤศจิกายนนั้น ขยับขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.03 (MoM) และร้อยละ 2.90 (YoY) จากร้อยละ 2.89 (YoY) ในเดือนตุลาคม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบน้ำท่วมปี 2554 ต่อทิศทางราคาสินค้าผู้บริโภคบางประเภท เช่น สินค้าในหมวดอาหาร และค่าที่อยู่อาศัย น่าจะทยอยลดลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ตามสถานการณ์น้ำท่วมที่คลี่คลายลงตามลำดับ ขณะที่ ผลของการตรึงค่าเอฟที ความเป็นไปได้ที่ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจะไม่ถูกปรับขึ้นรอบเดียวทั้งหมด และการเลื่อนช่วงการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานออกไปเป็นเดือนเมษายน 2555 ก็น่าจะทำอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 1/2555 ก่อนจะถูกผลักดันขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในลักษณะเดือนต่อเดือน (MoM) อีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 2/2555 สำหรับภาพรวมของเงินเฟ้อทั้งปี 2555 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงตัวเลขคาดการณ์กรณีพื้นฐานไว้ที่ร้อยละ 3.9 สำหรับเงินเฟ้อทั่วไป และที่ร้อยละ 3.0 สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย