Display mode (Doesn't show in master page preview)

28 ธันวาคม 2554

เศรษฐกิจไทย

แผนการฟื้นความเชื่อมั่นจากภาครัฐในปี 2555 ... ปัจจัยสำคัญกำหนดอนาคตการลงทุนญี่ปุ่นในไทย (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3226)

คะแนนเฉลี่ย

เหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 ได้สร้างความเสียหายแก่ธุรกิจของญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยมากที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสายการผลิตของญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ นอกจากนั้นยังกระทบต่ออุปทานชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของโลกในปี 2555 อีกด้วย

ด้วยความเสียหายที่รุนแรงดังกล่าว ประกอบกับสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในไทยที่เริ่มเผชิญเงื่อนไขข้อจำกัดมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าในระยะต่อไป แนวคิดการกระจายความเสี่ยงด้วยการกระจายฐานการผลิตอาจถูกนำมาพิจารณามากขึ้นในการลงทุนใหม่ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งในปัจจุบันมีการกระจุกตัวสูงในไทย ประกอบกับในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศคู่แข่งที่เคยมีมูลค่าการลงทุนน้อยกว่าไทยกลับมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน และการปรับปรุงกฎระเบียบ รวมถึงประเทศอาเซียนต่างๆ กำลังปรับตัวเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นสามารถมีตัวเลือกที่สูสีมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ด้วยสภาวะแวดล้อมทางการลงทุนที่ท้าทายมากขึ้นดังกล่าว รัฐบาลไทยจึงควรเร่งแก้ไขอุปสรรค (Bottleneck) ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทักษะแรงงานฝีมือชั้นสูง รวมถึงควรวางมาตรการป้องกันอุทกภัยสำหรับเขตอุตสาหกรรม และควรให้ความชัดเจนด้านการปรับเปลี่ยนมาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่อาจเกิดขึ้นหลังปี 2557 นอกจากนั้น รัฐบาลควรเร่งเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานสำหรับการต่อยอดอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอาหาร พลาสติกชีวภาพ และพลังงานทดแทน โดยการพัฒนาฐานความรู้ของแรงงานของประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มในโครงสร้างการผลิต โดยจะต้องมีความสอดคล้องไปกับเป้าหมายยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย