Display mode (Doesn't show in master page preview)

2 พฤษภาคม 2555

เศรษฐกิจไทย

เงินเฟ้อช่วงครึ่งหลังของปี 2555...อาจมีน้ำหนักมากขึ้นต่อจุดยืนนโยบายการเงิน (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3281)

คะแนนเฉลี่ย

ณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.00 ตามการคาดการณ์ของตลาด ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 มติของกนง.ในรอบนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ สะท้อนว่า ระดับราคาสินค้าผู้บริโภคชะลอตัวลงมากเกินคาดทั้งในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ชะลอลงมาที่ร้อยละ 2.47 (YoY) และร้อยละ 2.13 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในเดือนเมษายน 2555 จากร้อยละ 3.45 และร้อยละ 2.77 ในเดือนมีนาคม ตามลำดับ

ทั้งนี้ เมื่อมองไปในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมุมมองเดิมว่า แรงกดดันเงินเฟ้ออาจผ่อนคลายลงในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้ธปท. พอมีเวลาในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ทิศทางเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวกลับมาจากผลของการส่งผ่านภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจปรับตัวขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 4.0 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็อาจไล่ระดับเข้าใกล้ร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็นกรอบบนของเป้าหมายเงินเฟ้อร้อยละ 0.5-3.0 ของธปท.

สำหรับในกรณีที่ราคาพลังงานไม่ได้เร่งตัวสูงเกินกว่ากรอบที่ประเมินไว้ (ค่าเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบที่กรอบ 112-122 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล) และสถานการณ์วิกฤตหนี้ยุโรปไม่มีพัฒนาการไปสู่จุดที่เลวร้ายมากขึ้นแล้ว ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2555 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็น่าจะสามารถยืนอยู่ที่ร้อยละ 3.9 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ เช่นเดิม ซึ่งตามประมาณการข้างต้นนี้ แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานจะเร่งตัวสูงขึ้นค่อนข้างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ดังนั้นถึงแม้ จะคาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีโอกาสยืนที่ร้อยละ 3.00 ไปตลอดจนถึงสิ้นปี 2555 แต่ก็คงต้องยอมรับว่า โอกาสของการกลับมาส่งสัญญาณเชิงคุมเข้มนโยบายการเงินในช่วงท้ายๆ ปี หรือช่วงต้นปี 2556 ก็จะเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย