ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในตลาดโลกมีโอกาสแตะ 90-100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล จากอุปทานในตลาดโลกที่ตึงตัว ท่ามกลางความต้องการใช้น้ำมันที่มากขึ้นในช่วงฤดูหนาว
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ยังจำกัด แม้ว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะทำให้เงินเฟ้อในช่วงไตรมาสที่ 4/2561 อาจจะสูงกว่าที่ประเมินไว้บ้าง แต่มาตรการตรึงราคาพลังงานของภาครัฐจะช่วยลดทอนผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกลง ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังคงมุมมองอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2561 ไว้ที่ร้อยละ 1.1 (ช่วงประมาณการร้อยละ 0.8-1.3) และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ร้อยละ 4.6 (ช่วงประมาณการร้อยละ 4.3-4.8)
การพิจารณาดำเนินนโยบายรักษาเสถียรภาพราคาพลังงานของภาครัฐขึ้นกับการประเมินทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงว่าจะยืดเยื้อนานเพียงใด โดยเป็นการชั่งน้ำหนักระหว่างภาระผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น กับฐานะเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยที่ 85 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า เงินเฟ้อทั่วไปในปี 2562 จะเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.7-1.1 ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐในการตรึงราคาพลังงาน และเมื่อรวมผลกระทบจากดุลการค้าที่ลดลง จะส่งผลกระทบต่อ GDP ที่ร้อยละ 0.2-0.4
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น