Display mode (Doesn't show in master page preview)

3 กันยายน 2555

เศรษฐกิจไทย

แม้เงินเฟ้อเดือนส.ค.2555 ชะลอลง...แต่แนวโน้มต้องจับตาราคาอาหารและพลังงาน (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3341)

คะแนนเฉลี่ย

ากรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อล่าสุดโดยกระทรวงพาณิชย์ สะท้อนว่า แม้ระดับราคาสินค้าผู้บริโภคยังคงภาพการขยับขึ้นในลักษณะเดือนต่อเดือน (Month-on-Month: MoM) ไว้อย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี 2555 เป็นต้นมา อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้ว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของไทยในเดือนส.ค. 2555 ได้รับอานิสงส์จากผลของฐานการคำนวณเปรียบเทียบ ที่ทำให้เงินเฟ้อมีอัตราที่ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.69 และร้อยละ 1.76 (YoY) ในเดือนส.ค. จากร้อยละ 2.73 และร้อยละ 1.87 (YoY) ในเดือนก.ค. ตามลำดับ

สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2555 ไว้ที่กรอบร้อยละ 3.2-3.7 (ค่ากลางที่ร้อยละ 3.5) และกรอบร้อยละ 2.2-2.5 (ค่ากลางที่ร้อยละ 2.3) โดยความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะมีโอกาสเกินร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็นกรอบบนของเงินเฟ้อเป้าหมายร้อยละ 0.5-3.0 ของธปท.มีค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ แรงกดดันเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการทบทวนจุดยืนเชิงนโยบายการเงินของธปท. หากความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่เหลือของปี

อย่างไรก็ดี ยังคงต้องระวังแรงหนุนระดับราคาสินค้าที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมาที่ภาระค่าครองชีพของประชาชน 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) ราคาน้ำมัน/พลังงานในประเทศ ที่อาจขยับสูงขึ้นทั้งตามทิศทางในตลาดโลก และการทยอยปรับโครงสร้างราคาพลังงานของรัฐบาล (2) ค่าไฟฟ้า Ft ที่จะขยับขึ้นในรอบเดือนก.ย.–ธ.ค. 2555 (3) ราคาอาหารบางประเภท ที่อาจได้รับแรงหนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวนทั่วโลก และ (4) ต้นทุนประกอบการอื่นๆ ที่อาจทำให้ผู้ประกอบการทยอยขอปรับขึ้นราคาสินค้าหลังพ้นช่วงตรึงราคาตามมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในเดือนก.ย.2555

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย