Display mode (Doesn't show in master page preview)

18 กุมภาพันธ์ 2556

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยปี 2556 อาจชะลอลงมาที่ 4.8%: หลังการฟื้นตัวของการส่งออกถูกกระทบจากผลของเงินบาท (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3411)

คะแนนเฉลี่ย

เศรษฐกิจไทยในช่วงท้ายปี 2555 เร่งตัวขึ้น โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ขยายตัวร้อยละ 18.9 ในไตรมาส 4/2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวรายไตรมาสที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา และสูงขึ้นกว่าตัวเลขทบทวนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 (YoY) ในไตรมาส 3/2555 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2555 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 แข็งแกร่งกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ และเร่งขึ้นหลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ในปี 2554 ขณะที่ จีดีพีที่ปรับฤดูกาลในไตรมาส 4/2555 ขยายตัวร้อยละ 3.6 (QoQ, s.a.) แข็งแกร่งกว่าที่เติบโตร้อยละ 1.5 (QoQ, s.a.) ในไตรมาส 3/2555

ทั้งนี้ สัญญาณการขยายตัวสูงของกิจกรรมการทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 นอกจากจะเป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำของไตรมาส 4/2554 จากผลของอุทกภัยแล้ว ยังเป็นผลมาจากโมเมนตัมที่เร่งตัวขึ้นในช่วงโค้งสุดท้ายของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการเติบโตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและกิจกรรมในภาคก่อสร้าง ขณะที่ ส่วนเปลี่ยนในสินค้าคงเหลือ ก็เพิ่มสูงขึ้นตามการสต็อกทองคำ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรบางประเภทด้วยเช่นกัน

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2556 นั้น การเคลื่อนไหวของเงินบาทที่มีจังหวะการแข็งค่าที่ค่อนข้างรวดเร็วในช่วงต้นปี 2556 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าดังกล่าว อาจมีผลชะลอเส้นทางการฟื้นตัวของการส่งออกของไทยในปี 2556 ให้ลดต่ำลงกว่าประมาณการเดิมผ่าน 2 ช่องทางสำคัญ ได้แก่ 1) การลดลงของรายรับจากมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาท และ 2) ผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขัน และการตัดสินใจรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศของผู้ส่งออกบางกลุ่ม ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตของการส่งออกสำหรับปี 2556 ลงมาที่กรอบร้อยละ 8.0-13.0 (ภายใต้สมมติฐานที่คาดว่า เงินบาทน่าจะชะลออัตราการแข็งค่าลงในช่วงเวลาที่เหลือของปี) ซึ่งทำให้กรอบประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556 ชะลอลงมาที่ร้อยละ 4.3-5.3 จากกรอบคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.5-5.5

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย