Display mode (Doesn't show in master page preview)

17 ตุลาคม 2556

เศรษฐกิจไทย

อนุสัญญาแรงงานทางทะเลกับผลกระทบต่อธุรกิจเดินเรือไทย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2417)

คะแนนเฉลี่ย

อนุสัญญาแรงงานทางทะเล ค.ศ. 2006 (Maritime Labour Convention : MLC) เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานทางทะเล ฉบับใหม่ล่าสุด ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เป็นต้นมา

ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน (Non-Ratify) อนุสัญญาแรงงานทางทะเลฉบับนี้ เนื่องจากยังต้องรอผ่านกระบวนการทางกฎหมายภายในประเทศ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างเช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซียได้ให้สัตยาบันไปแล้ว

ธุรกิจเดินเรือระหว่างประเทศถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก เนื่องจากการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมากกว่าร้อยละ 90 ยังขนส่งโดยเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ

และบนเรือเดินทะเลระหว่างประเทศเหล่านั้นยังต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการทำหน้าที่ต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนสินค้าให้ไปสู่เมืองท่าปลายทางที่ต้องการ แรงงานที่ทำงานบนเรือเดินทะเลส่วนใหญ่จะต้องเดินทางไกลเป็นระยะเวลานานๆ เพื่อขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง สภาพการทำงานที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติในท้องทะเล และต้องถูกกดดันจากรูปแบบของเรือที่มีพื้นที่ในการทำงานจำกัด จึงกลายเป็นปัญหาที่ทำให้แรงงานบนเรือเดินทะเลระหว่างประเทศบางส่วนอาจจะถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยไม่สามารถที่เรียกร้องสิทธิต่างๆ ได้ เนื่องจากต้องเดินทางอยู่กลางทะเลเป็นระยะเวลานานนับเดือน

ปัจจุบันแรงงานที่ทำงานอยู่บนเรือเดินทะเลทั่วโลกมีมากกว่า 1.2 ล้านคน โดยมีแรงงานไทยที่ทำงานอยู่เรือเดินทะเลทั่วโลกประมาณ 20,000-30,000 คน

ปัญหามาตรฐานแรงงานถือได้ว่าเป็นประเด็นที่นานาประเทศให้ความสำคัญมากขึ้น ผ่านทั้งทางข้อตกลงภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ กรอบการค้าเสรี รวมไปถึงมาตรการการค้าของประเทศคู่ค้า ซึ่งอาจมีการตรวจสอบมาตรฐานแรงงานของสินค้านำเข้าตลอดสายการผลิต ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจไทยจึงจำเป็นต้องดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบการให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศได้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย