Display mode (Doesn't show in master page preview)

29 ตุลาคม 2556

เศรษฐกิจไทย

[AEC Plus] ภาวะสังคมสูงวัยในอาเซียน: ความท้าทายทางด้านแรงงานในอนาคตอันใกล้ที่ไทยต้องเตรียมรับมือ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2422)

คะแนนเฉลี่ย

สังคมสูงวัยหรือ Aging Society คือ ภาวะที่ประเทศมีสัดส่วนของประชากรผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ10 ของประชากรทั้งประเทศ นับเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจอย่างกว้างขวางในระยะนี้ โดยหากพิจารณาถึงโครงสร้างประชากรภายในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศแล้ว อาจกล่าวได้ว่า หลายประเทศในกลุ่ม AEC จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่กลายเป็นความท้าทายด้านโครงสร้างประชากรในหลายๆมิติในระยะ 15- 25 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะไทยและสิงคโปร์ที่เข้าสู่สังคมสูงวัยก่อนประเทศอื่น มีสัดส่วนประชากรสูงวัยกว่าร้อยละ 14 และ 12 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในอนาคต สัดส่วนประชากรสูงวัยของประเทศในอาเชียนส่วนใหญ่ ต่างเริ่มมีการทยอยปรับตัวสูงขึ้นซึ่งอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่มีผลทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนแรงงานและประสิทธิภาพของแรงงานในระบบ ความสามารถในการบริโภคและการออมโดยรวมมีแนวโน้มลดลง และ ความท้าทายต่อความสามารถในการจัดหาและจัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพ

เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมากของประเทศเพื่อนบ้าน อาจส่งผลให้ความต้องการแรงงานภายในประเทศนั้นๆเพิ่มขึ้นมาก ดังนั้น การเคลื่อนย้ายแรงงานไร้ฝีมือเข้าสู่ประเทศไทยจากประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มลดลงในอนาคต นอกจากนี้ไทยอาจประสบปัญหาสมองไหลของแรงงานมีฝีมือ หากประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มขยายธุรกิจมากขึ้น

จากการศึกษาการรับมือสังคมสูงวัยของประเทศชั้นนำ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเล็งเห็นว่า ภาคเอกชนควรมีการปรับตัวด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและจัดการความรู้ในองค์กรอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการปรับค่าจ้างและสวัสดิการให้เหมาะสมต่อตำแหน่งงาน เพื่อเป็นการดึงแรงงานนอกระบบกลับ หรือการเพิ่มแรงจูงใจให้แก่บุคคลที่ยังสามารถทำงานได้ นอกจากนี้ ควรยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศให้เน้นการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆแทนการใช้แรงงาน

ภาครัฐควรมีมาตรการเชิงรุกควบคู่กับการปรับตัวของภาคเอกชน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้คงอยู่ โดยควรให้ความสำคัญด้านการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อตอบโจทย์ทิศทางแรงงานในอนาคต รวมถึง ส่งเสริมสุขภาพของประชาชนและเพิ่มโอกาสในการทำงานของผู้สูงวัย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย