Display mode (Doesn't show in master page preview)

29 พฤศจิกายน 2556

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยโค้งสุดท้ายปี 2556 ... ยังเผชิญหลายตัวแปรเสี่ยง (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3467)

คะแนนเฉลี่ย

การส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ยังมีภาพที่ซบเซาต่อเนื่องในเดือนต.ค. 2556 และน่าจะเป็นสถานการณ์ต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี

  • โมเมนตัมการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ โดยการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.03 (YoY) และร้อยละ 4.9 (YoY) ในเดือนต.ค. ตามลำดับ นำโดย การหดตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทน สินค้าทุน และยอดขายยานยนต์
  • การส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดยแม้ว่า สินค้าส่งออกบางรายการ และตลาดส่งออกหลักจะเริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาการฟื้นตัว แต่การส่งออกไทยในภาพรวม ยังคงหดตัวลงต่อเนื่องอีกร้อยละ 0.7 (YoY) ในเดือนต.ค. เช่นเดียวกับทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 4.0 (YoY) ในเดือนต.ค. เนื่องจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน และทิศทางการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องตลอดช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2556 ในหลายส่วน (ทั้งการใช้จ่ายในประเทศ และการส่งออก) อาจกดดันให้จีดีพีประจำไตรมาส 4/2556 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 (YoY) ซึ่งเป็นการย้ำทิศทางการชะลอตัวตลอดทั้งปี และกดดันให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2556 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0

ณ ขณะนี้ คงต้องยอมรับว่า ความตึงเครียดของสถานการณ์การเมืองไทย เป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญค่อนข้างมากต่อจังหวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม เนื่องจากการลากยาวของช่วงเวลาสุญญากาศทางการเมืองจะมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อบรรยากาศการใช้จ่ายของภาคเอกชน และการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในช่วงปีข้างหน้า

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย