Display mode (Doesn't show in master page preview)

29 เมษายน 2557

เศรษฐกิจไทย

แรงงานไทยไปต่างประเทศ ... ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนอุปทานแรงงานไทยที่ลดลง (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2495)

คะแนนเฉลี่ย

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการส่งออกแรงงานไปทำงานในต่างประเทศและทำรายได้ส่งกลับประเทศค่อนข้างสูง โดยมีรายได้ส่งกลับของแรงงานและผู้พำนักในต่างประเทศสูงเป็นอันดับที่ 24 ของโลก และเป็นอันดับ 10 ของภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ ในปี 2556 แรงงานไทยที่ออกไปทำงานในต่างประเทศ มีการส่งรายได้กลับสู่ประเทศคิดเป็นมูลค่าถึง 88,047 ล้านบาท ขณะที่ ธนาคารโลกประเมินว่า หากรวมรายได้ของคนไทยที่พำนักในต่างประเทศแล้ว รายได้จากการส่งเงินกลับประเทศของคนไทย อาจมีมูลค่ารวมกันราว 170,716 ล้านบาท (5,555 ล้านดอลลาร์ฯ) หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.4 ของจีดีพีในปี 2556

อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยหากมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาเพียง 15 ปีที่ผ่านมา จำนวนแรงงานไทยออกไปทำงานในต่างประเทศลดลงไปเกือบครึ่งหนึ่งมาที่ 130,511 คนในปี 2556 จากที่เคยสูงสุดถึง 202,416 คนในปี 2542 ขณะที่ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศยังคงลดลงร้อยละ 3.8 โดยลดลงในแทบทุกตลาดหลัก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2557 แรงงานไทยที่เดินทางออกไปทำงานในต่างประเทศอาจมีจำนวนต่ำกว่า 130,000 คน ขณะที่ แนวโน้มการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยออกไปทำงานในต่างประเทศในอนาคต อาจจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป จากการส่งออกแรงงานพื้นฐาน เช่น แรงงานก่อสร้าง ไปสู่การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้น โดยประเด็นที่ต้องจับตานับจากนี้ คือทิศทางการเคลื่อนย้ายแรงงานภายหลังการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งอาจเป็นแรงกระตุ้นให้แรงงานวิชาชีพของไทยในบางสาขาออกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น

ดังนั้น การเคลื่อนย้ายแรงงาน ทั้งการไหลออกของแรงงานไทยที่มีทักษะสูง และการไหลกลับของแรงงานต่างด้าวไปยังประเทศของตัวเอง จึงเป็นความท้าทายต่อการจัดการปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยในอนาคต ด้วย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย