Display mode (Doesn't show in master page preview)

18 พฤศจิกายน 2557

เศรษฐกิจไทย

ภาษีมรดก...ก้าวสำคัญในการปฏิรูปปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2555)

คะแนนเฉลี่ย

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.การรับมรดก พ.ศ.... โดยสาระสำคัญเบื้องต้น ได้แก่ การเรียกเก็บภาษีจากการรับมรดกสำหรับทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยมีเพดานอัตราภาษีสูงสุดที่ 10% ซึ่งในลำดับถัดไปจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อออกเป็นกฎหมาย โดยอาจเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 1/2558 และสามารถจัดเก็บภาษีได้ภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2558

ซึ่งจากการเปรียบเทียบภาษีมรดกของไทยกับภาษีมรดกของนานาประเทศแล้ว อาจสรุปได้ว่า แนวทางการจัดเก็บภาษีมรดกของทางการไทยที่ได้รับการเปิดเผยจนถึงในปัจจุบันเป็นไปในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการจัดเก็บภาษีมรดกของประเทศอื่นๆ อีกทั้งยังมีลักษณะที่ค่อนข้างยืดหยุ่นและผ่อนคลายกว่าหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเด็นอัตราภาษีมรดกที่อยู่ในระดับไม่สูงนัก อีกทั้งมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษีมรดกยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงทิ้งห่างประเทศอื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วนน้อยกว่า 100 เท่าของรายได้ต่อหัวของประชากร

ไทย

สหรัฐฯ

สหราชอาณาจักร

ญี่ปุ่น

เกาหลีใต้

ฟิลิปปินส์

สิงคโปร์

ประเภทภาษีมรดก

ผู้ได้รับมรดก

กองมรดก

กองมรดก

ผู้ได้รับมรดก

ผู้ได้รับมรดก

กองมรดก

กองมรดก

อัตราภาษีมรดก

สูงสุด 10%

18 - 40%

40%

10 - 55%

10 - 50%

5 - 20%

5 - 10%

มูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี

50 ล้านบาท

5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

325,000 ปอนด์

50 ล้านเยน

200 ล้านวอน

200,000 เปโซฟิลิปปินส์

600,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

- เทียบกับรายได้ต่อหัวของประชากร

286.8 เท่า

94.1 เท่า

12.9 เท่า

13.3 เท่า

7.0 เท่า

1.7 เท่า

8.7 เท่า

โดยการเห็นชอบร่างกฎหมายภาษีมรดกของครม.ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทยที่รัฐบาลดำเนินการร่างกฎหมายภาษีมรดกอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดกรอบเวลาการบังคับใช้กฎหมายอย่างชัดเจน เพื่อเป้าประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยในภาพรวมนั้นยังต้องอาศัยการดำเนินการปฏิรูปด้านอื่นๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา โอกาสในการทำงาน ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึงสถาบันการเงิน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นท้าทายสำคัญของภาครัฐในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยในระยะยาว

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย