Display mode (Doesn't show in master page preview)

18 มกราคม 2560

เศรษฐกิจไทย

ตรุษจีนปีไก่ : ตลาดเครื่องเซ่นไหว้สะพัดทั่วกรุ่ง 6,400 ล้้านบาท...จับตาบทบาทกาารจับจ่ายของลูกหลานจีนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2815)

คะแนนเฉลี่ย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2560 คนกรุงเทพฯ[1] จะมีเม็ดเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอยเครื่องเซ่นไหว้สะพัดราว 6,400 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.0 (YoY) หรือเฉลี่ย 3,600 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก ทั้งนี้ แม้ว่าตรุษจีนจะเป็นเทศกาลที่ลูกหลานชาวจีนให้ความสำคัญมากที่สุดเมื่อเทียบกับเทศกาลอื่นๆ แต่ในปีนี้จากบรรยากาศที่ไม่เอื้อ ประกอบกับกำลังซื้อที่ถูกกดดันจากภาระค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกหลานจีนบางส่วนยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายและหันมาเก็บออมมากขึ้น

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตลาดจับจ่ายเครื่องเซ่นไหว้อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง โดยลูกหลานคนจีนรุ่นใหม่ จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะข้างหน้า จากการสืบทอดประเพณีจากคนจีนรุ่นก่อน การขยายครอบครัว รวมทั้งแนวโน้มที่คนจีนรุ่นก่อนจะมอบหมายให้ลูกหลานเป็นผู้จับจ่ายแทนมากขึ้น อย่างไรก็ดี กลุ่มคนจีนรุ่นก่อนแม้บทบาทจะทยอยลดลง แต่ปัจจุบันก็ยังถือเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่สำคัญที่ธุรกิจยังไม่ควรมองข้าม และยังค่อนข้างมีอำนาจการตัดสินใจซื้อในครอบครัว ทั้งนี้ ความสะดวกรวดเร็วเป็นหัวใจสำคัญที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งสองกลุ่มต้องการได้รับในการจับจ่ายเครื่องเซ่นไหว้สำหรับเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมสำหรับสำหรับกลุ่มลูกค้าคนจีนรุ่นก่อน คือ ความครบครันของเครื่องเซ่นไหว้ ในขณะที่ลูกหลานคนจีนรุ่นใหม่จะให้ความสำคัญกับการเลือกจับจ่ายจากแหล่งที่นำเสนอสินค้าและบริการที่ดีที่สุดภายใต้ราคาที่สมเหตุผล

ดังนั้น โอกาสทางการตลาดในระยะต่อไป ผู้ประกอบการอาจจะต้องรุกกลยุทธ์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ทั้งกลุ่มคนจีนรุ่นก่อนและกลุ่มลูกหลานคนจีนรุ่นใหม่ อาทิ การนำเสนอสินค้าที่แตกต่างจากที่มีวางจำหน่ายในตลาด (ไม่ว่าจะเป็นความแปลกใหม่ของตัวสินค้า การจัดเซตเครื่องเซ่นไหว้ที่ครบถ้วนหลากหลายราคาให้เลือกสรร) รวมถึงการสร้างทางเลือกในการเข้าถึงสินค้าให้กับผู้บริโภค (อาทิ การรับสั่งซื้อ-ส่งเครื่องเซ่นไหว้ถึงที่ การเพิ่มช่องทางการชำระสินค้าปลายทางและสามารถเปลี่ยนคืนได้หากไม่พอใจ เป็นต้น)


 


[1] ผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย