Display mode (Doesn't show in master page preview)

10 พฤศจิกายน 2560

เศรษฐกิจไทย

ครัวเรือนมีมุมมองต่อภาวะการครองชีพในระยะข้างหน้าดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ แม้ว่าในเดือนต.ค. เผชิญปัจจัยชั่วคราวกดดัน

คะแนนเฉลี่ย
​            เมื่อมองไปในช่วงต้นปี 2561 ครัวเรือนไทยมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของตนเองไปในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยที่ทยอยส่งผ่านผลบวกไปยังกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งในภาคการผลิต การค้าและการบริการ ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนให้มีการจ้างงานในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ครัวเรือนส่วนใหญ่มองว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นช่วงการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีและการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ (เงินโบนัส) ขององค์กรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ครัวเรือนเกษตรคาดหวังว่าเมื่อผ่านพ้นสถานการณ์น้ำท่วมไปแล้ว ปริมาณผลผลิตเกษตรน่าจะเพิ่มขึ้น ช่วยหนุนรายได้ครัวเรือนเกษตรให้ปรับตัวดีขึ้นได้ในส่วนหนึ่ง 
            ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนไทยในเดือนต.ค. 2560 เผชิญปัจจัยกดดันชั่วคราว อย่าง ‘สถานการณ์น้ำท่วม’ ในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศและ ‘เทศกาลกินเจ’ ซึ่งเป็น 2 ปัจจัยที่สร้างความผันผวนทั้งทางด้านราคาและทางด้านปริมาณให้แก่ภาคเกษตร และส่งผลต่อเนื่องไปยังรายได้เกษตรกร ภาวะการจ้างงานภายในประเทศ ตลอดจนสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้าของผู้บริโภคในประเทศอีกทอดหนึ่ง ส่งผลให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 45.9 
            ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วง 2 เดือนสุดท้าย (พ.ย.-ธ.ค.) ของปี 2560 น่าจะได้รับปัจจัยบวกจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวดีอย่างต่อเนื่องและมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐทยอยออกมา ไม่ว่าจะเป็น (1) มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมของภาครัฐ  รวมไปถึง (3) มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ผ่านการใช้จ่ายภายในประเทศอย่าง ‘มาตรการช้อปช่วยชาติ’ ที่จะมีขึ้นในช่วงวันที่ 11 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2560 โดยคาดว่าจะช่วยให้ภาคธุรกิจการค้าและการบริการมีการเพิ่มชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (โอที) ซึ่งส่งผลบวกต่อรายได้ของครัวเรือนอย่างไรก็ดี เนื่องจากช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. นับเป็นช่วงที่เข้าสู่ฤดูกาลสิ้นปี (ไฮซีซั่น) ครัวเรือนส่วนใหญ่จะมีการใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้ครัวเรือนมีค่าใช้จ่าย รวมถึงหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 



ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย