Display mode (Doesn't show in master page preview)

28 เมษายน 2548

เศรษฐกิจไทย

เปิดเทอมปี'48 : เงินสะพัด 50,000 ล้านบาท

คะแนนเฉลี่ย

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สำรวจ "ค่าใช้จ่ายเปิดเทอมปี 2548" ในช่วงระหว่าง 1-22 เมษายน 2548 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,513 คน โดยการกระจายกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ แยกเป็นกรุงเทพฯและปริมณฑลร้อยละ 25.8 ภาคกลาง(รวมภาคตะวันตก)ร้อยละ 17.1 ภาคตะวันออกร้อยละ 11.5 ภาคเหนือร้อยละ 16.1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 10.5 และภาคใต้ร้อยละ 19.0 ซึ่งจะกระจายกลุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับชั้นการศึกษา และประเภทของสถานศึกษา รวมทั้งหลักสูตร โดยปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบรรดาผู้ปกครองที่ออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าต่างๆให้กับบุตรหลาน รวมทั้งการเก็บรวบรวมรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆของสถานศึกษา ซึ่งนำมาใช้ประกอบในการคำนวณด้วย คาดว่าจะมีเงินสะพัดในช่วงเปิดเทอมสูงถึง 50,000 ล้านบาท โดยการคำนวณเม็ดเงินสะพัดสำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมในปี 2548 คำนวณโดยการถ่วงน้ำหนักตามจำนวนนักเรียน/นักศึกษาในแต่ละระดับการศึกษา และความแตกต่างของค่าใช้จ่ายที่จะแตกต่างกันอันเนื่องจากประเภทของสถานศึกษาและหลักสูตร เมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่สะพัดในช่วงเปิดเทอมปี 2547 แล้วค่าใช้จ่ายในปี 2548 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 จากการสำรวจค่าใช้จ่ายเปิดเทอมในปี 2548 พบว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายของบรรดาผู้ปกครองนั้นแยกออกได้เป็นค่าเทอมร้อยละ 39.0 ค่าอาหารร้อยละ 13.0 ค่ากิจกรรมอื่นๆร้อยละ 18.0 และค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนร้อยละ 30


เม็ดเงินสะพัดในช่วงเปิดเทอม 2548 แยกรายภาค
ภาค
ค่าใช้จ่ายช่วงเปิดเทอมเฉลี่ยต่อคน*(บาท/คน)
เม็ดเงินสะพัด
(ล้านบาท)
อนุบาล
ประถม
มัธยม
ปวช/ปวส
อุดมศึกษา
กรุงเทพฯ**
1 2,263
8,994
7,133
12,857
22,997
18,000
กลาง
8,996
5,488
4,217
11,655
20,787
5,800
ตะวันออก
8,500
6,200
6,000
11,500
30,039
8,700
เหนือ
8,209
5,784
4,000
10,500
24,000
9,600
ตะวันออกเฉียงเหนือ
7,348
7,794
4,435
10,750
12,095
5,900
ใต้
6,752
5,906
4,792
9,125
14,334
2,000
เฉลี่ย
9,283
7,285
5,668
8,884
20,526
50,000

ที่มา : โพลล์บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

หมายเหตุ : *ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันอย่างมากขึ้นกับประเภทของสถาบันการศึกษา และหลักสูตร

**กรุงเทพฯรวมปริมณฑล

ประเด็นที่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบวิธีการแก้ปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมของบรรดาผู้ปกครองที่คาดว่าจะประสบปัญหาในช่วงเปิดเทอม ปรากฎว่าในผลการสำรวจค่าใช้จ่ายเปิดเทอมในปี 2548 นี้ บรรดาผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 34.1 หันไปพึ่งพาวิธีการกู้ยืมเงิน ทำให้การแก้ปัญหาด้วยการกู้ยืมนั้นเป็นอันดับหนึ่งของวิธีการแก้ปัญหาของบรรดาผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง วิธีการแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมอันดับรองลงมาคือ การถอนเงินสะสม การเลือกทำงานพิเศษ การเปียร์แชร์ และการพึ่งพาโรงรับจำนำ ส่วนอัตราดอกเบี้ยของการพึ่งพาการกู้ยืมนั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแหล่งของการกู้ยืม จากการสำรวจพบว่าโดยเฉลี่ยบรรดาผู้ปกครองต้องเสียดอกเบี้ยเฉลี่ยเกือบร้อยละ 10 ต่อเดือน

วิธีการแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม
ร้อยละ
ภาค
เปียร์แชร์
พึ่งพาการกู้ยืม
พึ่งพา
โรงรับจำนำ
ทำงานพิเศษ
ถอนเงินสะสม
กรุงเทพฯและปริมณฑล
18.9
31.1
9.5
9.5
31.1
กลาง
12.5
35.9
5.4
17.9
28.3
ตะวันออก
7.9
44.7
7.9
13.2
26.3
เหนือ
6.1
37.9
7.6
21.2
27.3
ตะวันออกเฉียงเหนือ
20.2
44.2
1.9
8.7
25.0
ใต้
14.6
39.0
6.2
13.0
27.2
เฉลี่ย
11.9
34.1
10.0
12.0
31.0

ที่มา : โพลล์บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแยกรายภาคแล้วพบว่าบรรดาผู้ปกครองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกร้อยละ 44 ของกลุ่มตัวอย่างต้องพึ่งพิงการกู้ยืมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม ส่วนผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯจะพึ่งพิงการกู้ยืมเงินน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ

แหล่งกู้ยืมเงินของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม
ร้อยละ
ภาค
กู้ยืมเงินในระบบ*
กู้ยืมเงินนอกระบบ
ญาติ/คนรู้จัก
นายทุน
รวม
กรุงเทพฯและปริมณฑล
34.5
55.7
9.8
65.5
กลาง
36.5
55.3
8.2
63.5
ตะวันออก
28.5
53.6
17.9
71.5
เหนือ
36.5
48.1
15.4
63.5
ตะวันออกเฉียงเหนือ
23.5
69.1
7.4
76.5
ใต้
30.2
59.1
10.7
69.8
เฉลี่ย
31.4
56.4
12.2
68.6

ที่มา : โพลล์บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

หมายเหตุ : *การกู้ยืมในระบบหมายถึงสินเชื่อเพื่อการศึกษาของสถาบันการเงิน เบิกล่วงหน้าบัตรเครดิต

สำหรับการกู้ยืมเงินนั้นแหล่งกู้ยืมของบรรดาผู้ปกครองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมนั้นแยกออกได้เป็นการกู้ยืมเงินนอกระบบร้อยละ 68.6 ของการพึ่งพาการกู้ยืมเงินทั้งหมด และในระบบร้อยละ 31.4 อย่างไรก็ตามแหล่งกู้ยืมนอกระบบนั้นส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเงินจากบรรดาญาติ/คนรู้จักถึงร้อยละ 56.4 ซึ่งการกู้ยืมเงินจากแหล่งนี้บางครั้งไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือถ้าเสียก็จะอยู่ในอัตราค่อนข้างต่ำ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 12.2 นั้นพึ่งพิงการกู้ยืมเงินจากนายทุนเงินกู้ ซึ่งการกู้ยืมเงินจากแหล่งนี้มักจะเป็นทางเลือกสุดท้าย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนั้นอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง

สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเทอมในปี 2548 ก็มีการเร่งปรับกลยุทธ์ทางการตลาดกันอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากผู้ปกครองเน้นนโยบายประหยัด แต่ผู้ประกอบการอยู่ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้นจึงต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้า และการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบต่างๆเพื่อจูงใจบรรดาผู้ปกครองให้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของบรรดาผู้ปกครองสามารถคำนวณเม็ดเงินสะพัดแยกรายภาคได้ดังนี้

เม็ดเงินสะพัดในสินค้าเครื่องแบบและอุปกรณ์การเรียนแยกรายภาค
ล้านบาท
รายการ
กทม.และปริมณฑล
กลาง***
ตะวันออก
เหนือ
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ใต้
รวม
ชุดนักเรียน**
402
443
129
709
1,349
646
3,678
รองเท้านักเรียน
101
112
32
178
338
162
923
รองเท้าพละ
91
101
29
161
306
147
835
ถุงเท้า
37
41
12
65
124
59
338
เข็มขัด
31
36
10
55
105
50
287
กระเป๋า
87
95
28
154
292
140
796
แบบเรียน/หนังสือ
296
325
95
522
992
475
2,705
หนังสืออ่านเสริม
104
113
33
183
348
167
948
สมุด
71
78
23
126
239
114
651
อื่นๆ(ค่าหอพัก ฯลฯ)
480
526
154
845
1,608
770
4,383

ที่มา : โพลล์บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

หมายเหตุ : *ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันอย่างมากขึ้นกับประเภทของสถาบันการศึกษา และหลักสูตร

**ค่าชุดนักเรียนรวมทั้งชุดพละ และชุดลูกเสือ/เนตรนารี

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย