Display mode (Doesn't show in master page preview)

22 มิถุนายน 2548

เศรษฐกิจไทย

ปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด : ต้องปรับโครงสร้างการนำเข้าเพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมัน

คะแนนเฉลี่ย

ในช่วงที่ผ่านมาของปี 2548 เศรษฐกิจไทยเผชิญกับภาวะการชะลอตัว แต่การนำเข้าสินค้าต่างประเทศกลับมีการเติบโตในอัตราที่เร่งตัวกว่าปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์โครงสร้างการนำเข้าของไทยในช่วงที่ผ่านมา ถ้ากรณีสมมติให้ภาคเศรษฐกิจแต่ละประเภทมีความต้องการนำเข้าในสัดส่วนที่คงที่เท่ากับปีที่ผ่านมา ด้วยระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ประมาณร้อยละ 4-5 จะทำให้การนำเข้ามีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 17-18 ในปี 2548 ซึ่งเป็นระดับที่ยังรักษาสถานะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ไว้ได้ แต่ตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกปี 2548 เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 3.3 แต่การนำเข้าในรูปมูลค่าบาทกลับขยายตัวสูงถึงร้อยละ 26.5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงโครงสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆของไทยกับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางในการบริหารการนำเข้าและดุลบัญชีเดินสะพัด พบว่าภาคเศรษฐกิจต่างๆของไทยมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น สัดส่วนมูลค่าการนำเข้าต่อมูลค่าจีดีพีสูงขึ้นมาที่ร้อยละ 62 ในไตรมาสแรกปี 2548 จากร้อยละ 58 ในปี 2547 และเคยต่ำกว่าร้อยละ 40 ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ

จากการวิเคราะห์ผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการนำเข้าของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ การบริโภค การผลิต การลงทุน และการนำเข้าน้ำมันพบว่า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเทียบเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าการบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น 1% (Percentage point) จะทำให้อัตราการเติบโตของการนำเข้าในปี 2548 เพิ่มขึ้น 1.2% (Percentage point) ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบและส่วนประกอบเทียบเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทยที่เพิ่มขึ้น 1% จะทำให้อัตราการเติบโตของการนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก 0.7% สำหรับการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆเทียบเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้น 1% จะทำให้อัตราการเติบโตของการนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก 0.5% และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะทำให้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก 0.3%

ในกรณีเศรษฐกิจในภาคการบริโภค การผลิต และการลงทุนสามารถรักษาสัดส่วนการนำเข้าไว้ที่ระดับใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า และราคาน้ำมันสูงขึ้นมีค่าเฉลี่ยที่ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะส่งผลให้อัตราการเติบโตของการนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก 3.7% (จากอัตราขยายตัวตามโครงสร้างนำเข้าเดิมที่ประมาณร้อยละ 17) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ถ้าสัดส่วนการนำเข้าของภาคการบริโภค การผลิต และการลงทุนยังคงเป็นไปในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อน ผลโดยรวม (รวมผลของราคาน้ำมัน) อาจทำให้การนำเข้าในปี 2548 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 7.6% เป็นร้อยละ 24.6 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลประมาณ 3,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยิ่งถ้าราคาน้ำมันดิบยังคงพุ่งสูงขึ้นอีก ก็จะยิ่งส่งผลกดดันดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น

ข้อสมมติ
ผลต่อการนำเข้า

เทียบกับกรณีที่โครงสร้างสัดส่วนนำเข้าไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า
- ข้อสมมติ 1 สัดส่วนการนำเข้าของง การบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 0.5% สัดส่วนการนำเข้าของง ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 5% สัดส่วนการนำเข้าของง กิจกรรมการลง- ทุนเพิ่มขึ้น 1% และราคาน้ำมันดิบ Brent มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50 US$/Barrel (เพิ่มขึ้น 12 US$/Barrel จากค่าเฉลี่ยปี 2457) -มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 270,000 ล้านบาท

- การนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก 7.6% จากอัตราขยายตัวตามโครงสร้างสัดส่วนนำเข้าเดิม (17.%)

- ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2548 ขาดดุลประมาณ 3,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ข้อสมมติ 2 ในกรณีที่สัดส่วนการนำเข้าของง ภาคบริโภค ภาคอุตสาหกรรม และภาคการลงง ทุนไม่เปลี่ยนแปลงง จากปีก่อนหน้า และราคาน้ำมันดิบ Brent มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50 US$/Barrel เ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 128,000 ล้านบาท

- การนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก 3.7% จากอัตราขยายตัวตามโครงสร้างสัดส่วนนำเข้าเดิม (17.%)

- ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2548 เกินดุลประมาณ 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ในขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้น สิ่งที่อาจทำได้คือต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเศรษฐกิจต่างๆในการหาแนวทางที่จะลดการนำเข้าของภาคเศรษฐกิจแต่ละส่วนไปพร้อมกัน โดยการร่วมมือกันของผู้บริโภค ภาคธุรกิจและภาครัฐในการประหยัดพลังงาน การหันมาใช้สินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศ ลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศสูง นอกจากนี้ ในส่วนของมาตรการของภาครัฐ ควรมีการกำหนดมาตรการทางการค้าเพื่อป้องกันการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ รวมทั้งนโยบายอุตสาหกรรมที่จะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมไทยมีการใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น

สำหรับประเทศไทย การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดขณะนี้ยังถือว่าเป็นระดับที่ยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เนื่องจากทุนสำรองของประเทศยังอยู่ในระดับสูง หนี้ต่างประเทศลดลงจากในอดีตมาก ขณะเดียวกัน การขาดดุลที่เป็นอยู่ไม่ได้สะท้อนว่าเกิดจากการบริโภคที่เกินตัว แต่เป็นผลมาจากแรงกระตุ้นในด้านการลงทุน ที่สินค้าที่นำเข้ามาเพื่อเป็นการสร้างผลตอบแทนในอนาคต โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐในโครงสร้างพื้นฐานนับเป็นการยกระดับทุนทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถ้าการลงทุนมีประสิทธิภาพก็จะยิ่งส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้น หากประเทศมีศักยภาพการเติบโตสูงในปัจจุบันและอนาคต การขาดดุลในระยะสั้นอาจไม่ก่อปัญหาต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังอยู่ภายใต้ความเสี่ยงหลายด้าน ซึ่งปัญหาจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะเพิ่มสูงขึ้นหากประเทศเผชิญโอกาสที่เศรษฐกิจจะชะลอตัว หรือหากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอันจะส่งผลให้การส่งออกเติบโตลดลง ซึ่งหมายถึงความสามารถในการสร้างรายได้เพื่อนำมาชำระคืนหนี้ถูกจำกัด หรือหากประเทศมีความน่าดึงดูดต่อการดึงเงินทุนไหลเข้าลดลง อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง เป็นต้น ซึ่งต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังอยู่ภายใต้ความเสี่ยงเหล่านี้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย