Display mode (Doesn't show in master page preview)

19 ตุลาคม 2549

เศรษฐกิจไทย

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2550 … ปรับเพิ่มประมาณการจากหลายปัจจัยบวก (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1880)

คะแนนเฉลี่ย
สืบเนื่องจากปัจจัยบวกต่าง ๆ อาทิ การที่รัฐบาลเฉพาะกาลน่าจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณในวงเงิน 1.52 ล้านล้านบาทสำหรับปี 2550 ได้เร็วกว่าที่เดิมคาดการณ์ไว้ และจากการที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันในประเทศก็น่าจะมีเสถียรภาพมากกว่าในปี 2549 ที่ผ่านมา รวมทั้งจากความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากทางการในปีหน้า ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ดังนี้ :-
สรุปประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2550
หน่วย: อัตราการขยายตัวจากปีก่อนหน้า หรือระบุเป็นอย่างอื่น

2550

2549

ประมาณการเดิม

ประมาณการใหม่

การบริโภคกาคเอกชน

3.9

3.5-4.0

# ปรับเพิ่มเป็น 4.0-4.5%
จากแนวโน้มที่ลดลงของเงินเฟ้อ

การบริโภคของภาครัฐ

1.2

2

# ปรับเพิ่มเป็น 5.0% เนื่องจากเงินเฟ้อที่ลดลงและจากวงเงินรายจ่ายตามงบประมาณปี 2550

การลงทุนรวม

4.5

3.5

# ปรับเพิ่มเป็น 4.0-5.2%

ภาคเอกชน

5.1

5.6-5.9

ไม่เปลี่ยนประมาณการ

ภาครัฐ

2.8

-3.8

# ปรับเพิ่มเป็น -0.8% ถึง +3.2% จากการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล

การส่งออก

17

9.0-12.0

# ปรับเพิ่มเป็น 12-15% เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะไม่รุนแรงอย่างที่เคยกังวล

การนำเข้า

10

9.0-12.0

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ย (USD/Barrel)

65

67

$ ปรับลดประมาณการลงเป็น 60 ดอลลาร์ฯ

ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศเฉลี่ย (บาท/ลิตร)

25.6

26.5

$ ปรับลดประมาณการลงเป็น24.5 บาท/ลิตรตามราคาน้ำมันในต่างประเทศ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI)

4.7

3.3-3.8

$ ปรับลดลงเป็น 3.0-3.5% ตามแนวโน้มราคาน้ำมัน

GDP

4.0-4.5

3.5-4.5

# ปรับเพิ่มประมาณการเป็น 4.0-5.0% โดยได้รับแรงหนุนหลักจากการใช้จ่ายในประเทศ โดยเฉพาะภาครัฐ

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ดยสรุปแล้ว แม้ว่าจะยังคงมีความเสี่ยงทางการเมืองในประเทศ แต่การสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณได้เร็วขึ้นอีกประมาณ 3-4 เดือนจากที่คาดไว้เดิม รวมทั้งแนวโน้มการปรับลดของอัตราเงินเฟ้อ และการทรงตัวของราคาน้ำมันในประเทศ น่าจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ซึ่งทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 เป็นร้อยละ 4.0-5.0 จากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 3.5-4.5 อย่างไรก็ตาม แม้จะคาดว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2550 คงจะไม่รุนแรงมากนัก โดยน่าจะเป็นการ Soft Landing มากกว่าที่จะเป็นภาวะถดถอย หรือ Recession แต่การส่งออกของไทย รวมทั้งแนวโน้มราคาสินค้าโภคภันฑ์ต่าง ๆ ก็อาจจะยังคงเผชิญกับความเสี่ยงอยู่ ในขณะที่ค่าเงินบาทก็อาจจะเผชิญกับความผันผวนจากกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุน ตามจังหวะการปรับฐานของเงินดอลลาร์ฯ ในขณะเดียวกัน ก็คาดว่า การลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อาจจะยังคงรอดูความชัดเจนทางการเมืองหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ซึ่งทำให้ความสามารถในการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทยในปีหน้า

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย