Display mode (Doesn't show in master page preview)

3 มกราคม 2550

เศรษฐกิจไทย

เหตุวินาศกรรม 31 ธ.ค. 49. ... ผลในเชิงลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2550 (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1922)

คะแนนเฉลี่ย

แม้ว่าตลาดหุ้นไทยและค่าเงินบาทจะได้อ่อนตัวลงตอบสนองต่อเหตุวินาศกรรมที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครในวันที่ 31 ธ.ค. 49 ที่ผ่านมา แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ณ ขณะนี้ ยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ไว้ที่ร้อยละ 4.0-5.0 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2549 แต่ก็มีความโน้มเอียงไปในเชิงลบ (Negative Bias) ต่อการบริโภค และการลงทุนในประเทศ อันเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นจากเหตุวินาศกรรมดังกล่าว โดยระดับของผลกระทบที่จะมีต่อภาวะการใช้จ่ายในประเทศนั้น ย่อมจะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการดำเนินการสอบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดของทางการ รวมทั้งความนิ่งของเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศ อย่างไรก็ตาม อาจจะกล่าวได้ว่า ธุรกิจที่น่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะความไม่เชื่อมั่นดังกล่าวคงได้แก่ ธุรกิจเพื่อการบริโภคต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์การค้าและใกล้เคียง ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่อาจถูกกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวนั้น ก็ย่อมจะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจโรงแรม รวมทั้งต่อธุรกิจอื่น ๆ ที่พึ่งฐานลูกค้าต่างชาติ เช่น ธุรกิจบริการทางการแพทย์ รวมทั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่เป็นโครงการที่อยู่อาศัยระดับสูงและโครงการนิคมอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศที่เพิ่มขึ้น ก็อาจจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติรอดูท่าทีอยู่ภายนอกประเทศ แทนที่จะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยแม้ว่าราคาหลักทรัพย์ในตลาดจะได้ปรับตัวลดลงมาแล้วก็ตาม ซึ่งการลดน้ำหนักการลงทุนดังกล่าวของต่างชาติย่อมจะส่งผลกระทบต่อปริมาณธุรกรรมและสภาพคล่องของตลาดโดยรวม และอาจทำให้ตลาดทุนไทยต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้เดิมในการที่จะฟื้นตัว ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อความมั่งคั่ง (Wealth Effect) ของผู้บริโภคที่เป็นนักลงทุนรายย่อยในตลาดฯแล้ว ยังอาจเป็นอุปสรรคแก่ธุรกิจไทย ที่ในปี 2550 นี้มีแผนที่จะระดมทุนผ่านตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้

ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย

หน่วย: % y-o-y, หรือระบุเป็นอย่างอื่น

2549

2550

2551

2552

GDP

5.0

4.0-5.0

5.0-6.0

4.5-5.5

การบริโภคภาคเอกชน

3.4

3.5-4.5

5.0-6.0

4.5-5.5

การลงทุนรวม

3.9

3.7-5.3

11.0-13.1

9.7

เอกชน

4.5

5.4-6.0

9.5-10.8

7.9

รัฐ

2.1

-1.5 ถึง +3.2

15.8-21.0

15.6

การส่งออก

17.5

10.0-15.0

7.0-10.0

7.0-10.0

การนำเข้า

7.2

10.0-15.0

7.0-10.0

7.0-10.0

ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ฯ)

+2.5 ถึง +2.9

0.4 ถึง 1.9

-0.4 ถึง +0.6

-0.5 ถึง -1.0

ดุลบัญชีเดินสะพัด (% ต่อ GDP)

1.2 ถึง 1.4

0.2 ถึง 0.8

-0.1 ถึง +0.2

-0.2 ถึง -0.4

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ย (ดอลลาร์ฯ)

65.0

55.0-60.0

57.0-62.0

60.0-65.0

ค่าเงินบาท (เฉลี่ย)

37.90

36.50

36.00

36.00

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI)

4.6

2.5-3.5

3.0-3.5

3.0-3.5

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI)

2.3

1.8-2.3

3.0-3.5

3.0-3.5

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย