Display mode (Doesn't show in master page preview)

25 พฤษภาคม 2564

เศรษฐกิจไทย

โควิด-19 กระทบสภาพคล่องในครัวเรือน ผู้ปกครองปรับลดค่าใช้จ่ายเปิดภาคเรียนใหม่ปี 2564 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3226)

คะแนนเฉลี่ย

เปิดเทอมใหญ่ปี 2564 นี้ เป็นอีกหนึ่งปีที่ผู้ปกครองต้องเผชิญกับปัญหาการระบาดของโควิด-19 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้จัดทำการสำรวจมุมมองผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต่อผู้ปกครอง (ที่มีบุตรหลานเรียนในระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2564 จากกลุ่มตัวอย่าง 600 คน ในเขตกรุงเทพฯ และในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้

โดยผลสำรวจสะท้อนว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่กว่า 88.5% ยังมีความกังวลและไม่มีความมั่นใจหากบุตรหลานต้องกลับไปเรียนอีกครั้ง เนื่องจากมองว่าการรระบาดครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรงและยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และความเสี่ยงที่อาจจะกลับมาระบาดอีกครั้ง อีกทั้งยังไม่มีวัคซีนโควิดสำหรับเด็กนักเรียน ทั้งนี้ ผู้ปกครองในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดอยากเห็นสถาบันการศึกษามีมาตรการในการป้องกันเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวดก่อนที่จะกลับมาเปิดเรียนอีกครั้ง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีความมั่นใจประมาณ 11.5% มองว่า กว่าที่นักเรียนจะกลับเข้าเรียนสถานการณ์โควิดน่าจะคลี่คลายระดับหนึ่งแล้ว และทางสถานศึกษาคงมีมาตรการที่เข้มงวดในการเฝ้าระวัง

          ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองส่วนใหญ่กว่า 89.8% มีความกังวลต่อสภาพคล่องทางการเงินในการใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลานในการเปิดเทอมปี 2564 โดยกลุ่มผู้ปกครองที่มีความกังวลส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ซึ่งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและการระบาดของโควิดที่ยาวนานกลุ่มตัวอย่างนี้ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย อาทิ ตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวตกงาน ถูกปรับลดชั่วโมงทำงาน ไม่สามารถออกไปขายสินค้าได้ ยอดขายของธุรกิจลดลง ซึ่งทำให้รายได้ในครัวเรือนลดลงแต่รายจ่ายยังคงเดิม

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มูลค่าการใช้จ่ายในด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2564 นี้ อาจหดตัวลงประมาณ 6.6% เมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือมีมูลค่าประมาณ 26,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนหนึ่งเพราะนโยบายลดภาระค่าเล่าเรียน แต่ที่สำคัญเป็นผลจากความระวังและการประหยัดของผู้ปกครองท่ามกลางผลกระทบจากโควิดต่อสภาพคล่อง รายได้และการมีงานทำ สอดคล้องกับผลสำรวจที่ผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างยังมีการปรับลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเพื่อบุตรหลานอย่าง ชุดนักเรียน รองเท้า กระเป๋า ​อุปกรณ์เครื่องเขียน และอื่นๆ เป็นต้น​

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย