การเงินเพื่อความยั่งยืน จาก Green สู่ Transition Finance
- ในช่วง 2 - 3 ปี ที่ผ่านมา เริ่มมีการพูดถึง Sustainable Finance ประเภทใหม่ที่เรียกว่า Transition Finance ซึ่งเปลี่ยนไปจาก Sustainable Finance ที่ให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ในการนำเงินไปใช้ โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์ได้แก่อุตสาหกรรมที่เทคโนโลยีลด GHG ยังมีต้นทุนสูงและทำให้ยาก (hard-to-abate sectors) หรือมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ซีเมนต์ เหล็ก ปิโตรเลียม เป็นต้น ซึ่งไม่เข้าข่ายขอรับ Green Finance ได้ แต่ยังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ
- มูลค่า Transition Finance ทั่วโลก เติบโตกว่า 6 เท่า จากปี 2020 ส่วนใหญ่มาจาก Transition Finance ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่ปล่อย GHG สูงให้สามารถบรรลุเป้าหมายลด GHG ในระยะยาว เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเลียม ซีเมนต์ ยานยนต์ เป็นต้น
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า Transition Finance จะมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมไทยซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์หรือคู่มือการออกผลิตภัณฑ์ Transition Finance โดยเฉพาะ ซึ่งกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จาก Transition Finance มีการปล่อย GHG คิดเป็น 82% ของประเทศ มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมไทยคิดเป็นสัดส่วน 38% ของ GDP อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการสามารถนำเครื่องมือ Thailand Taxonomy มาปรับใช้ในการออก Transition Finance ควบคู่การใช้มาตรฐานของต่างประเทศ เช่น ของ IEA Net Zero Roadmap, Japan Climate Transition Bond Framework, ASEAN Transition Finance Guidance เป็นต้น
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น