Display mode (Doesn't show in master page preview)

15 พฤษภาคม 2561

เศรษฐกิจไทย

กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล เล็งปกป้องผู้บริโภครายย่อย...ส่งเสริมการเติบโตอย่างมั่นคง (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3741)

คะแนนเฉลี่ย

      ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่สร้างความชัดเจนทางกฎหมายให้กับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยทั้งจำแนกชนิดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสองชนิด คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และโทเคนดิจิทัล (Token Digital) และแบ่งธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ 4 ประเภท ที่ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์ของสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ 

1) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (ซึ่งเปรียบเสมือนตลาดกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล)
2) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล 
3) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่คล้ายศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ดำเนินการซื้อขายจริงนอกศูนย์ดังกล่าว)
4) กิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศตามข้อเสนอของก.ล.ต.
      กฎหมายย้ำเจตนารมณ์ในการดูแลนักลงทุนรายย่อย ควบคู่กับการส่งเสริมบทบาทความรับผิดชอบของผู้ประกอบการในธุรกิจ โดยที่มาตราทั้งหมด กำหนดให้บริษัทที่จะเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อประชาชน (การจะออก ICO) ต้องทำตามข้อบังคับจาก ก.ล.ต. ทั้งในด้านการเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน ด้านคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารบริษัท ไปจนถึงการที่บริษัทต้องจัดส่งรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัท ซึ่งทั้งหมดนี้ หากไม่ประพฤติตาม จะมีโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่ง
      เนื่องจากการลงทุนไม่ว่าจะช่องทางใดย่อมมีความเสี่ยง จึงจำเป็นจะต้องมีการคัดกรองให้ผู้ขายมีคุณสมบัติในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้นักลงทุน การที่ทางการจะตั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับให้ผู้เสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลมีภาระรับผิดชอบเช่นเดียวกับบริษัทที่จะนำหุ้นหรือตราสารหนี้ออกขายสู่ประชาชนจึงเป็นเรื่องธรรมดา และแม้ว่าการมีกฎเกณฑ์อาจจะกระทบต่อระยะเวลาที่ต้องใช้ในการออก ICO บ้าง แต่ก็ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคที่จำกัดโอกาสของธุรกิจที่มีคุณภาพ 
      นอกจากกฎหมายใหม่นี้ ทางการไทยยังเดินหน้าแนวทางอื่นร่วมด้วยเพื่อพัฒนาสตาร์ทอัพ เช่นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain โดยสถาบันการเงินต่างๆ หลายแห่ง หรือโครงการ Regulatory Sandbox ของ ธปท. ซึ่งเปิดช่องทางให้บริษัทพัฒนาธุรกิจ Fintech โดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ Blockchain เช่น P2P Lending นอกจากนี้ ​ทางการไทยก็ได้ริเริ่มผลักดันช่องทางการระดมทุนใหม่ประเภทอื่นๆ เช่นตลาดหลักทรัพย์สำหรับสตาร์ทอัพ LiVE ที่จะเริ่มให้มีการซื้อขายกันในปีนี้ ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีสมัยใหม่ของประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยที่การพัฒนาในด้านต่างๆจะเกิดขึ้นอย่างมีเสถียรภาพและความยั่งยืน



ดูรายละเอียดฉบับเต็ม