Display mode (Doesn't show in master page preview)

19 พฤศจิกายน 2564

Econ Digest

COP26 จาก อุณหภูมิโลก สู่นัยยะทาง เศรษฐกิจ

คะแนนเฉลี่ย


ในการประชุม COP26 หรือ the 26th UN Climate Change Conference of the Parties ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปนั้น นอกจากการที่ผู้นำทั่วโลกมารวมตัว เพื่อยืนยันเจตนารมณ์และตกลงร่วมกันในการดำเนินการไปสู่เป้าหมาย Net Zero แล้ว ที่ประชุม COP26 ยังได้มีการเจรจาให้ประเทศต่าง ๆ เร่งดำเนินการเพิ่มเติม อาทิ  ลดการสูญเสียป่าไม้และความเสื่อมโทรมของผืนดิน ลดการผลิตก๊าซมีเทนอย่างน้อย 30% ภายในปี 2030 (เทียบกับปี 2020) ลดและยุติการใช้พลังงานจากถ่านหิน เปลี่ยนผ่านไปสู่การจำหน่ายและใช้ยานยนต์ที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร และการผลิตอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ทั้งนี้ แม้ว่าการประชุม COP26 อาจยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ 100% และยังมีอีกหลายประเด็นต้องติดตามความคืบหน้า แต่อย่างน้อยก็ทำให้ทุกภาคส่วนในหลายประเทศทั่วโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเร่งด่วนของวิกฤตก๊าซเรือนกระจกและการเพิ่มขึ้นของอุณภูมิโลก โดยความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น จนอาจนำมาสู่ภัยพิบัติและผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้น คงทำให้รัฐบาลประเทศหันมาให้น้ำหนักประเด็นเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ทั้งการวางแผนและคาดการณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในระยะกลางถึงระยะยาว    

สำหรับไทย ยังไม่ได้ประกาศเจตนารมณ์ในด้านอื่นชัดเจน นอกจากการเข้าสู่การเป็น Net zero ในปี 2065 เพราะยังต้องนำเสนอข้อตกลงให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อนที่จะแจ้งให้เจ้าภาพทราบ ดังนั้น ยังต้องติดตามท่าทีและการดำเนินการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียวอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ กรีนพีซได้ศึกษา 7 เมืองใหญ่ในเอเชีย พบว่า ภาวะโลกรวนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อประชาชนและเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนและน้ำท่วม โดยคาดว่าจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจรวมกว่า 5.12 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 ปี ซึ่งภัยธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ภาครัฐต้องจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะงบฉุกเฉินเพื่อช่วยผู้ประสบภัย งบฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่เดือดร้อน และการป้องกันภัยธรรมชาติที่จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากรายจ่ายดังกล่าวเพิ่มขึ้นคงทำให้เกิดประเด็นเศรษฐกิจตามมา ​

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest