Display mode (Doesn't show in master page preview)

24 มีนาคม 2565

การค้า

มาตรการด้าน Climate Change ของประเทศคู่ค้าหลัก สู่ผลกระทบต่อการส่งออกไทย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3314)

คะแนนเฉลี่ย

​      จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (อียู) ประเทศคู่ค้าหลักของไทยประกาศเจตนารมย์ลดการปล่อย CO2 และก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ พร้อมทั้งดำเนินมาตรการต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายตามเจตนารมย์ที่สำคัญ ดังนี้

     จีน เริ่มดำเนินการจัดตั้งระบบการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยมลพิษแห่งชาติ ห้ามนำเข้าขยะพลาสติกและจำกัดการใช้พลาสติก ทั้งนี้ จีนจะดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวดมากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อย CO2 สูงสุด (peak emission) ในปี 2030 และปล่อย CO2 สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ในปี 2060

     สหรัฐฯ เตรียมเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอน (Carbon Border Adjustment Fee)  ภาษีสรรพสามิตเม็ดพลาสติกใหม่ และดำเนินมาตรการด้านพลังงานสะอาด อาทิ เพิ่มความเข้มงวดมาตรฐานการประหยัดพลังงานสำหรับยานพาหนะเพื่อ

การเปลี่ยนผ่านไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า และมาตรการอื่น ๆ เพื่อบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050

     อียู ดำเนินมาตรการห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และมีแผนขยายความครอบคลุมไปยังผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดอื่น ๆ พร้อมทั้งเตรียมใช้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ห้ามใช้รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานฟอสซิล และดำเนินมาตรการอื่น ๆ ตาม European Green Deal เพื่อเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

     ทั้งนี้ ในระยะแรกผลกระทบต่อการส่งออกยังคงจำกัดเฉพาะในบางกลุ่มสินค้าที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง เช่น พลาสติก ยานยนต์ เหล็ก ซีเมนต์ อะลูมิเนียม โดยในระยะสั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าพลาสติกมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมากที่สุด เนื่องจาก (1) มีสัดส่วนการส่งออกค่อนข้างสูงและจะได้รับผลกระทบจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เริ่มดำเนินการแล้ว (2) แนวโน้มมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกจะมีความเข้มงวดมากขึ้นอีก และ (3) พลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อส่งออกได้เพียงพอในระยะสั้น

     แม้ว่าการส่งออกในปี 2565 คงจะชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่ผู้ประกอบการไทยก็ควรจะเร่งเตรียมการเพื่อรับมือกับการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากธุรกิจที่ปรับตัวโดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

จะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันและมีความพร้อมรองรับการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตทั้งจากประเทศคู่ค้า และทางการไทย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า