ในช่วงที่ผ่านมา Metaverse ได้รับความสนใจและกลายเป็นกระแสมากขึ้นเรื่อยๆ ในระดับโลก โดยปัจจุบัน เป้าหมายหลักของผู้ประกอบการที่วางแผนจะนำ Metaverse มาใช้ ส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่การหาโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ในตลาดผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นช่องทางค้าปลีกใหม่ที่สร้างประสบการณ์เสมือนจริงในการเลือกซื้อสินค้า หรือแม้แต่การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่บนโลกเสมือน เป็นต้น อย่างไรก็ดี เทคโนโลยี Metaverse กลับมีศักยภาพที่สามารถจะนำมาประยุกต์ใช้ในตลาดองค์กรโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตได้เช่นกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การออกแบบสินค้า การจัดซื้อจัดหา การผลิต ตลอดจนการบริหารคลังสินค้า
Metaverse ในอุตสาหกรรมการผลิตยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นได้อีกตามการพัฒนาของเทคโนโลยีในระยะข้างหน้า โดยตัวอย่างการประยุกต์ใช้ที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน เช่น การเพิ่มความยืดหยุ่นในการออกแบบสินค้าโดยใช้ต้นแบบ 3 มิติ การบริหารสายพานการผลิตผ่านโรงงานเสมือน และการฝึกสอนพนักงานใหม่บนสายพานการผลิตในโลกเสมือน เป็นต้น ทั้งนี้ ในด้านการลงทุนนำเทคโนโลยี Metaverse มาใช้ ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องพิจารณาทยอยลงทุนในส่วนที่ให้ความคุ้มค่าต่อการดำเนินธุรกิจของตนเองก่อน ทั้งเพื่อลดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโดยรวมหากลงทุนพร้อมกันหมด และลดเม็ดเงินลงทุนให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น