Display mode (Doesn't show in master page preview)

5 มีนาคม 2563

บริการ

COVID-19 บวกกับกำลังซื้อที่ซบเซา กระทบค้าปลีกไทย … คาดปี’ 63 มูลค่าตลาดหดตัวร้อยละ 0.8 ถึง 2.2 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3089)

คะแนนเฉลี่ย

​​             ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่คาดว่าจะลากยาวไปจนถึงครึ่งปีแรก บวกกับกำลังซื้อของคนในประเทศที่ยังคงอ่อนแรงต่อเนื่อง จากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และภัยแล้ง ส่งผลให้คาดว่ามูลค่าตลาดค้าปลีกในช่วงครึ่งแรกปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวสูง จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป รวมถึงบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของคนในประเทศที่ซบเซา โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ที่น่าจะมีการใช้จ่ายที่ลดลง และอาจจะถูกแทนที่ด้วยกลุ่มสินค้าสินค้าอุปโภค-บริโภค (อาหารแห้ง ของใช้ส่วนตัว) รวมถึงหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ล้างมือ ซึ่งมีความจำเป็นและอาจมีการสำรองสินค้ากลุ่มนี้ไว้บ้าง ตามกำลังซื้อท่ามกลางความกังวลต่อ COVID-19

             อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์การแพร่ระบาดสามารถควบคุมได้ภายในครึ่งปีแรก ประกอบกับการมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อต่างๆ ของทางภาครัฐ รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการค้าปลีก โดยเฉพาะ กลยุทธ์ทางด้านราคา ภายใต้การประเมินถึงความคุ้มค่าของการใช้งบในการทำการตลาดและจังหวะเวลาที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการมีมาตรการดูแลและป้องกันสุขภาพจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการภายในร้านค้าปลีก ก็น่าจะช่วยประคับประคอง และทำให้บรรยากาศของการใช้จ่ายไปยังธุรกิจค้าปลีกในช่วงครึ่งปีหลังค่อยๆ ทยอยฟื้นตัวไ

               ​ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่า ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกทั้งปี 2563 จะหดตัวราวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวออกไปหรือรุนแรงขึ้น ก็อาจจะทำให้มูลค่าตลาดค้าปลีกหดตัวถึงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หรือคิดเป็นเม็ดเงินค้าปลีกทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทยที่สูญหายไปประมาณ 150,000-200,000 ล้านบาท แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของทางภาครัฐเข้ามาหนุน แต่ก็อาจจะช่วยได้แค่บางส่วน และมองว่าผู้บริโภคก็ยังคงมีความกังวลและระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


บริการ