ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2561 ไว้ที่ร้อยละ 1.1 เร่งขึ้นจากปี 2560 ที่อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและค่าเช่าบ้าน ท่ามกลางการหดตัวของราคาอาหารสด เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2562 คาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 0.8 (กรอบประมาณการที่ร้อยละ 0.5-1.2) ชะลอลงจากปี 2561 เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวลดลง มีน้ำหนักต่อเงินเฟ้อมากกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดและค่าสาธารณูปโภค
เมื่อมองไปในระยะข้างหน้า นอกจากปัจจัยเชิงวัฏจักร (Cyclical factors) ที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อไทยแล้ว ยังมีปัจจัยเชิงโครงสร้าง (Structural factors) ที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อไทยและอัตราเงินเฟ้อโลกมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ทำให้การบริโภคของครัวเรือนลดลง การออมมากขึ้น รวมถึงเป็นผลของ E-Commerce ที่ทำให้ต้นทุนผู้ผลิตลดต่ำลง แต่ก็ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้การปรับขึ้นราคาสินค้าของผู้ประกอบการที่มีหน้าร้านเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น