10 ตุลาคม 2566
เศรษฐกิจไทย
... อ่านต่อ
FileSize KB
21 กันยายน 2565
ด้วยราคาอาหารเจที่อาจถูกปรับขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่สูง รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้แม้ว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลาย แต่สัดส่วนของคนกรุงเทพฯ ที่เลือกกินเจช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังปรับพฤติกรรมโดยการลดวันที่กินเจลง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เพิ่มสูงเกินไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปริมาณการบริโภคอาหารเจของคนกรุงเทพฯ น่าจะหดตัวราว 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ ราคาอาหารเจอาจปรับขึ้นประมาณ 10% จากปีก่อน ส่งผลให้เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ตลอดช่วงเทศกาลกินเจปี 2565 น่าจะอยู่ที่ 3,200 ล้านบาท หรือขยายตัว 4% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากสภาพตลาดและพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ โจทย์สำคัญของธุรกิจอาหารเจในปีนี้ จึงอยู่บนความท้าทายด้านการบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่ไปกับการชูจุดขายด้านราคาที่คุ้มค่า ภายใต้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่จูงใจให้คนเลือกซื้อหรือใช้บริการ... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
ในช่วงของการเปิดเทอมใหญ่ของทุกปี ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียนจะมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษามากเป็นพิเศษ จากผลสำรวจของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ปกครองกว่า 54.2% มีความกังวลต่อสภาพคล่องทางการเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในด้านการศึกษา แต่ยังมีแนวทางรองรับเนื่องจากการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ และเปิดเทอมใหญ่ในปีนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือในการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาสำหรับผู้ปกครองที่ถือบัตรสวัสดิการของรัฐ ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาภาระรายจ่ายสำหรับผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีมาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา สำหรับประชาชนผู้เสียภาษีเช่นกัน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2562 ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะมีการใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลาน (ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) มูลค่าประมาณ 28,220 ล้านบาท ... อ่านต่อ
23 มกราคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2562 จะอยู่ที่ประมาณ 13,560 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 (YoY) โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับเพิ่มทางด้านค่าใช้จ่ายการทำบุญ/ท่องเที่ยวเป็นหลัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องเซ่นไหว้ให้ภาพที่ทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน ส่วนเงินแต๊ะเอียมีแนวโน้มปรับลดลงค่อนข้างเด่นชัดกว่ากิจกรรมอื่น สำหรับในปี 2562 นี้มีปัจจัยพิเศษที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว อาทิ การเลือกตั้ง ที่น่าจะกำหนดขึ้นภายในเดือนมีนาคม 2562 นี้ ซึ่งอาจทำให้มีเม็ดเงินที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งลงสู่ภาคธุรกิจ รวมถึงช่วยฟื้นความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชนและการลงทุนของภาคธุรกิจในระยะถัดไป และปัจจัยสำคัญคือ มาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% สำหรับการใช้จ่ายในช่วงระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ถือเป็นมาตรการที่น่าจะช่วยจูงใจให้เกิดเม็ดเงินการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ได้พอสมควร... อ่านต่อ
11 มกราคม 2562
• ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือนธ.ค. 2561 และดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นในทิศทางที่สอดคล้องกันด้วยปัจจัยสนับสนุนที่แตกต่างกัน โดย KR-ECI ในปัจจุบันที่ปรับตัวดีขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือนประกอบกับค่าครองชีพปรับตัวลดลงตามราคาอาหารสดและราคาพลังงาน ขณะที่ KR-ECI ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (ม.ค.-มี.ค. 2562) ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงของค่าใช้จ่ายเป็นสำคัญ • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยังมีหลายประเด็นที่อาจจะส่งผลต่อภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงไตรมาสที่ 1/2562 ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเผชิญปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจจะทำให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดน้อยลง การปรับขึ้นค่าโดยสารรถประจำทางและค่าไฟฟ้า รวมไปถึงความแน่ชัดทางการเมืองที่น่าจะมีส่วนช่วยสนับสนุนบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศได้เป็นอย่างดี ... อ่านต่อ
20 ธันวาคม 2561
• ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2561 ไว้ที่ 1.1% เร่งขึ้นจากปีก่อน มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและค่าเช่าบ้าน ท่ามกลางการหดตัวของราคาอาหารสด • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2562 คาดว่า จะอยู่ที่ 0.8% (กรอบประมาณการที่ 0.5-1.2%) ชะลอลงจากปี 2561 เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวลดลง มีน้ำหนักต่อเงินเฟ้อมากกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดและค่าสาธารณูปโภค • เมื่อมองไปในระยะข้างหน้า นอกจากปัจจัยเชิงวัฏจักรที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อไทยแล้ว ยังมีปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นผลของ E-Commerce ที่ทำให้ต้นทุนผู้ผลิตลดต่ำลง แต่ก็ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้การปรับขึ้นราคาสินค้าของผู้ประกอบการที่มีหน้าร้านเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ... อ่านต่อ
19 พฤศจิกายน 2561
• ภาพเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2561 ขยายตัว 3.3% YoY ต่ำสุดในรอบปี จากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก ในขณะที่การใช้จ่ายในประเทศกลับส่งสัญญาณดีทั้งการบริโภคครัวเรือนและการลงทุนเอกชน • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีว่าน่าจะยังกลับมาโตได้ไม่ต่ำกว่า 4.0% เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทั้งที่เริ่มดำเนินการไปแล้ว และที่อยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ การส่งออกและท่องเที่ยวที่สะดุดไปในช่วงไตรมาสที่ 3 น่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น แม้อาจจะไม่โตได้เท่าในช่วงครึ่งปีแรก โดยในเบื้องต้นประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2561 น่าจะยังขยายตัวได้ในช่วงกรอบล่างของประมาณการที่ 4.3-4.8% • การพึ่งพิงการเติบโตจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศมีความไม่แน่นอนมากขึ้น กลายโจทย์ที่ท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าจะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนในประเทศ สอดรับไปกับการก่อสร้างของโครงการโครงสร้างพื้นฐาน EEC ที่จะมีการประมูลแล้วเสร็จในช่วงต้นปีหน้า และคาดว่าจะมีเม็ดเงินก่อสร้างลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้ในช่วงครึ่งปีหลัง 2562 ... อ่านต่อ
14 พฤศจิกายน 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 46.9 ในการสำรวจช่วงเดือนต.ค. 2561 จากมุมมองของครัวเรือนที่เป็นบวกมากขึ้นต่อรายได้และการจ้างงานในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลทางฤดูกาลที่เข้าสู่ช่วงการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีของครัวเรือนนอกภาคเกษตรและเข้าสู่ช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตของครัวเรือนในภาคเกษตร ... อ่านต่อ
21 กันยายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เทศกาลกินเจปี 2561 คนกรุงฯ จะมีเม็ดเงินใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มเจสะพัด กว่า 4,650 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.3 (YoY) ซึ่งเป็นผลมาจากราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเจที่คาดว่าจะปรับสูงขึ้น รวมถึงจำนวนคนที่สนใจกินเจเพิ่มขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายในการกินเจประมาณ 315 บาท/คน/วัน ทั้งนี้ จากกระแสการปนเปื้อนสารพิษต่างๆ ในเนื้อสัตว์ รวมถึงโอกาสในการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคที่ง่ายขึ้น เปิดกว้างให้กับกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเจยังมีโอกาสทำตลาดเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ระยะหลังมานี้ผู้บริโภคเริ่มมีความกังวลว่าการบริโภคอาหารเจ อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน ดังนั้น ผู้ประกอบการอาจจะต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะการชูจุดขายเรื่องของคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงการใส่ใจในเรื่องของรสชาติและสร้างความแปลกใหม่ให้กับเมนูอาหารและวัตถุดิบที่ใช้ ซึ่งก็น่าจะช่วยคลายกังวลในเรื่องของการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ และจูงใจให้ผู้บริโภคสนใจที่จะรับประทานอาหารเจเพิ่มขึ้นในปีนี้และปีต่อๆ ไป... อ่านต่อ
8 พฤษภาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว... อ่านต่อ
11 เมษายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ... อ่านต่อ
11 ตุลาคม 2560
ครัวเรือนเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมองภาวะการครองชีพในปัจจุบันขยับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน สะท้อนจากดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากระดับ 45.7 ในเดือนส.ค. มาอยู่ที่ระดับ 45.5 ในเดือนก.ย. 2560 เนื่องจากปัจจัยบวกด้านภาระการใช้จ่ายและยอดชำระบัตรเครดิตที่ลดลงถูกหักล้างด้วยปัจจัยลบด้านภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามการปรับขึ้นของราคาสินค้า ในขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลงจากระดับ 46.2 ในเดือนส.ค. มาอยู่ที่ระดับ 45.3 ในเดือนก.ย. 2560 และเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขดัชนีสะท้อนมุมมองของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวต่ำกว่ามุมมองในปัจจุบัน ... อ่านต่อ
13 กันยายน 2559
9 สิงหาคม 2559
2 พฤษภาคม 2557
3 มิถุนายน 2556
4 กุมภาพันธ์ 2556
1 กุมภาพันธ์ 2555
20 กันยายน 2554
30 มิถุนายน 2554
1 พฤศจิกายน 2553
4 มกราคม 2553
16 ตุลาคม 2552
23 มิถุนายน 2552
4 พฤษภาคม 2552
19 กันยายน 2551
23 กรกฎาคม 2551
12 พฤษภาคม 2551
1 กันยายน 2549