Display mode (Doesn't show in master page preview)

7 กุมภาพันธ์ 2563

เศรษฐกิจไทย

คนไทยปรับพฤติกรรมรับมือไวรัสโคโรนา ... การกลับมาใช้ชีวิตปกติ ให้น้ำหนักต่อกรณีที่มีวิธีการรักษาโรคหรือวัคซีนป้องกันมากที่สุด (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3082)

คะแนนเฉลี่ย

​​              จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ราว 66% มีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศจีนซึ่งพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยให้ความสำคัญกับการป้องกันตนเองและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางด้านในช่วงระยะเวลานี้ที่ยังมีความไม่แน่นอนว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเมื่อใด  

            ภายใต้กรอบเวลา 1-3 เดือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า คนไทยจะมีภาระค่าใช้จ่ายในการป้องกันและดูแลสุขภาพผ่านการซื้อหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ คิดเป็นเม็ดเงินราว 2,200-2,500 ล้านบาท ขณะที่ การปรับพฤติกรรมของประชาชน อาจก่อให้เกิดผลทางลบต่อภาคธุรกิจต่างๆ โดยผลกระทบหลักจะตกอยู่ที่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศผ่านการเลื่อน/ชะลอการเดินทางชั่วคราวคิดเป็นมูลค่าประมาณ 13,100-17,500 ล้านบาท  สำหรับผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหารในภาพรวมจากการใช้จ่ายของคนไทยอาจยังอยู่ในกรอบที่จำกัด โดยผู้ประกอบการบางรายอาจจะได้รายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายอาจจะได้รายได้ลดลงจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค นอกจากนี้ บรรยากาศของข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนายังมีผลต่อการออกไปรับประทานอาหารและจับจ่ายใช้สอยนอกบ้านของผู้บริโภคด้วย ดังนั้น คาดว่า ในช่วง 1-3 เดือนนี้ ผลกระทบต่อรายได้สุทธิในธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหารที่จะสูญเสียไปอาจมีมูลค่าราว 900-1,500 ล้านบาท

​​            ทั้งนี้ จากผลสำรวจ พบว่า ความกังวลต่อสถานการณ์ไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันในบางด้านในช่วงเวลานี้ ประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ เมื่อมีวิธีการรักษาโรค/วัคซีนป้องกันโรค, มีมาตรการป้องกันที่สร้างความเชื่อมั่นจากภาครัฐ, การไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เป็น 3 สถานการณ์ที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้น้ำหนักมากที่สุด


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย