26 เมษายน 2566
เศรษฐกิจไทย
... อ่านต่อ
FileSize KB
4 ธันวาคม 2563
จากผลการสำรวจฯ พบว่า หากไม่มีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐ คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ 5,300 บาทต่อคน เนื่องจากส่วนใหญ่ยังกังวลผลกระทบของโควิด-19 ในต่างประเทศที่อาจลากยาวไปอีก และปัจจัยกดดันจากภาระหนี้ครัวเรือน อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินการใช้จ่ายรวมในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 จะอยู่ที่ 30,050 ล้านบาท ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า เป็นผลของแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศของภาครัฐ ทั้งโครงการช้อปดีมีคืนและโครงการคนละครึ่ง ที่บรรเทาค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคและช่วยเพิ่มกำลังซื้อในช่วงเทศกาลปีใหม่ได้บางส่วน ซึ่งหากไม่มีมาตรการดังกล่าว การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้อาจจะหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า... อ่านต่อ
6 มีนาคม 2563
สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 ยังส่อเค้าความรุนแรงและกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นทั่วโลก หลังจากยอดผู้ติดเชื้อนอกจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกาหลีใต้ อิตาลี และอิหร่าน ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่า 90,000 คน ครอบคลุมมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ... อ่านต่อ
7 กุมภาพันธ์ 2563
จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ราว 66% มีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศจีนซึ่งพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยให้ความสำคัญกับการป้องกันตนเองและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางด้านในช่วงระยะเวลานี้ที่ยังมีความไม่แน่นอนว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเมื่อใด ... อ่านต่อ
13 มกราคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2563 ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายด้านเครื่องเซ่นไหว้ ค่าใช้จ่ายด้านท่องเที่ยว/ทำบุญ และค่าใช้จ่ายด้านการแจกเงินแต๊ะเอีย จะอยู่ที่ประมาณ 13,150 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยปัจจัยสำคัญที่กดดันการใช้จ่าย ก็คือกำลังซื้อที่ชะลอตัว และอาจจำเป็นต้องติดตามปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางราคาสินค้าเครื่องเซ่นไหว้ที่ปรับสูงขึ้น ทั้งปัจจัยทางด้านภัยแล้ง รวมถึงปัจจัยทางด้านราคาพลังงาน ที่ปรับสูงขึ้นจากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง จนอาจกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่งสินค้า ซึ่งอาจกระทบต่อบรรยากาศการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ได้... อ่านต่อ
9 ตุลาคม 2562
เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวิธีการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินมาตรการตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. จนถึง 30 พ.ย. 2562 โดยในปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนสำเร็จบางส่วนได้เริ่มออกมาใช้สิทธิ์ตามจังหวัดปลายทางต่างๆ ที่ลงทะเบียนไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนไทยที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ “ชิมช้อปใช้” เฟส 1 โดยผลสำรวจมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ... อ่านต่อ
2 ตุลาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ลงมาอยู่ที่ 2.8% จากเดิม 3.1% ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีหน้าว่ามีความเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3.0% จากหลายปัจจัยลบ... อ่านต่อ
30 กันยายน 2562
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานที่ปกคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ได้กลับมาเยือนอีกครั้ง ซึ่งเกิดจากสภาพภูมิอากาศนิ่งและจมตัว อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าปัญหาฝุ่นละอองที่กลับมาครั้งนี้จะมีความรุนแรงขึ้นกว่าที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2562 โดยจากข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ ของ AQICN.ORG พบว่า ในวันที่ 30 กันยายน 2562 ค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานในบางพื้นที่แตะระดับสูงถึง 202 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในบางช่วงเวลาระหว่างวัน... อ่านต่อ
24 กันยายน 2562
เทศกาลกินเจปี 2562 ยังคงดึงดูดให้คนกรุงเทพฯ สนใจเข้าร่วมกินเจเพิ่มจาก 57.1% มาป็น 66.7% ในปีนี้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่สนใจเข้ามาทานเจเพื่อเหตุผลด้านสุขภาพ ขณะที่จำนวนมื้อที่ทานเฉลี่ยต่อคนมีแนวโน้มปรับลดลง ส่งผลให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายตลอดช่วงเทศกาลกินเจปี 2562 ของคนกรุงเทพฯ จะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 4,760 ล้านบาทขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้คนทานเจบางกลุ่มมีความตั้งใจที่จะควบคุมค่าใช้จ่าย ส่งผลให้มูลค่าการใช้จ่ายช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีก่อน... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
ในช่วงของการเปิดเทอมใหญ่ของทุกปี ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียนจะมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษามากเป็นพิเศษ จากผลสำรวจของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ปกครองกว่า 54.2% มีความกังวลต่อสภาพคล่องทางการเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในด้านการศึกษา แต่ยังมีแนวทางรองรับเนื่องจากการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ และเปิดเทอมใหญ่ในปีนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือในการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาสำหรับผู้ปกครองที่ถือบัตรสวัสดิการของรัฐ ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาภาระรายจ่ายสำหรับผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีมาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา สำหรับประชาชนผู้เสียภาษีเช่นกัน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2562 ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะมีการใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลาน (ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) มูลค่าประมาณ 28,220 ล้านบาท ... อ่านต่อ
3 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงสงกรานต์ปี 2562 คนกรุงเทพฯ มีการใช้จ่ายคิดเป็นเม็ดเงิน 25,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยเม็ดเงินดังกล่าว แยกเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสังสรรค์ (อาหารและเครื่องดื่ม) 9,650 ล้านบาท ค่าที่พัก/เดินทาง 6,650 ล้านบาท ช็อปปิ้ง 4,600 ล้านบาท ทำบุญไหว้พระ 2,050 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในกิจกรรมอื่นๆ อาทิ ให้เงินผู้ใหญ่ในครอบครัว ค่าเที่ยวสถานที่ต่างๆ/ดูหนังฟังเพลง/เล่นน้ำ 2,050 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่ยอดฮิตในช่วงสงกรานต์ ทำให้คนกรุงเทพฯ มีการปรับแผนการท่องเที่ยว โดยหลีกเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าวและวางแผนทำกิจกรรมในกรุงเทพฯ และเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียงมากขึ้น เช่น ชลบุรี อยุธยา ระยอง นอกจากนี้ เป็นที่สังเกตว่า กิจกรรมหลายๆ อย่างที่คนกรุงฯ สนใจจะทำในช่วงสงกรานต์ จะแตกต่างกันไปตาม Generation แต่กลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตลาด ได้แก่ กลุ่มลูกค้า Gen Y และ Gen X ที่อยู่ในวัยทำงาน เนื่องจากยังให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ก่อให้เกิดเม็ดเงิน ทั้งการจัดเลี้ยงสังสรรค์และช็อปปิ้ง แต่การจะเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ กลยุทธ์สำคัญคือ ราคาต้องสมเหตุสมผลและมีโปรโมชั่น/สิทธิพิเศษ ที่ดึงความสนใจ ดังนั้น ด้วยความแตกต่างของไลฟ์สไตล์ของแต่ละ Generation ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นการตลาดที่มุ่งตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม (Customization) มากขึ้น เพื่อจะได้นำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ได้มากที่สุด... อ่านต่อ
23 มกราคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2562 จะอยู่ที่ประมาณ 13,560 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 (YoY) โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับเพิ่มทางด้านค่าใช้จ่ายการทำบุญ/ท่องเที่ยวเป็นหลัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องเซ่นไหว้ให้ภาพที่ทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน ส่วนเงินแต๊ะเอียมีแนวโน้มปรับลดลงค่อนข้างเด่นชัดกว่ากิจกรรมอื่น สำหรับในปี 2562 นี้มีปัจจัยพิเศษที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว อาทิ การเลือกตั้ง ที่น่าจะกำหนดขึ้นภายในเดือนมีนาคม 2562 นี้ ซึ่งอาจทำให้มีเม็ดเงินที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งลงสู่ภาคธุรกิจ รวมถึงช่วยฟื้นความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชนและการลงทุนของภาคธุรกิจในระยะถัดไป และปัจจัยสำคัญคือ มาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% สำหรับการใช้จ่ายในช่วงระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ถือเป็นมาตรการที่น่าจะช่วยจูงใจให้เกิดเม็ดเงินการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ได้พอสมควร... อ่านต่อ
12 กันยายน 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ขยับขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับ 46.5 ในเดือนส.ค. เนื่องจากครัวเรือนเกษตรบางส่วนมีความกังวลลดลงในเรื่องภาระหนี้สิน ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากมาตรการลดภาระหนี้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เกษตรกรรายย่อยของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนส.ค. 2561 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จากความกังวลเรื่องราคาสินค้าและค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้) ที่เพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยังต้องติดตามในเรื่องของระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศที่คาดว่าจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ทั้งในส่วนของราคาอาหารสดและราคาพลังงาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อภาวะการครองชีพของครัวเรือนในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
8 พฤษภาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
ท่ามกลางภาพรวมของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยที่เติบโตดี แต่มีตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจากภูมิภาคตะวันออกกลางที่จำนวนนักท่องเที่ยวหลายประเทศเดินทางมาเที่ยวไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่ทิศทางตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางเที่ยวไทยอาจจะยังติดลบ แม้คาดว่าราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นน่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจมีการเติบโต แต่ยังมีปัจจัยเฉพาะที่ต้องติดตามอย่างความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม GCC สถานการณ์ค่าเงินเรียล (Rial) ของอิหร่านที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น ... อ่านต่อ
11 เมษายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ... อ่านต่อ
13 กันยายน 2560
ครัวเรือนเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมองภาวะการครองชีพในอีก 3 เดือนข้างหน้าดีขึ้น สะท้อนให้เห็นจากดัชนีสะท้อนมุมมองคาดการณ์ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 45.8 ในเดือนก.ค. มาอยู่ที่ระดับ 46.2 ในเดือนส.ค. จากความกังวลที่บรรเทาลงในเรื่องค่าใช้จ่ายและภาระในการชำระหนี้ ในขณะที่ภาวะการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ที่ขยับขึ้นจากระดับ 45.5 ในเดือนก.ค. มาอยู่ที่ 45.7 ในเดือนส.ค. จากภาระการชำระหนี้บัตรเครดิตที่ลดลงประกอบกับราคาอาหารสดถูกลงเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ภาวะการครองชีพในปัจจุบันและในอนาคตที่ปรับตัวดีขึ้นมีปัจจัยร่วมจากเรื่องค่าใช้จ่ายและภาระในการชำระหนี้ สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของครัวเรือนที่ระมัดระวังมากขึ้นต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ... อ่านต่อ
10 ตุลาคม 2557
5 กันยายน 2557
24 มกราคม 2557
4 กุมภาพันธ์ 2556
18 มกราคม 2555
28 มกราคม 2554
15 พฤษภาคม 2552