Display mode (Doesn't show in master page preview)

19 พฤศจิกายน 2562

สถาบันการเงิน

Digital-Only Banks ธนาคารดิจิทัลยุคใหม่ที่ไม่มีสาขา กับโมเดลธุรกิจใหม่ที่ยังต้องรอการพิสูจน์ในสังคมไทย (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3833)

คะแนนเฉลี่ย
  • ​​​Digital-Only Banks เป็นกลุ่มธนาคารยุคใหม่ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นสองประเภท ตามโมเดลธุรกิจซึ่งเล็งกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป ประเภทแรก ธนาคาร Digital-Only ที่เน้นการให้บริการลูกค้ารายได้ต่ำถึงปานกลางที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Digital-Only A) และประเภทที่สอง ธนาคาร Digital-Only ที่มีกลุ่มลูกค้าทับซ้อนกับธนาคารพาณิชย์และมุ่งเป็นทางเลือกในการทำธุรกรรมที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าสำหรับผู้บริโภค (Digital-Only B)
  • ีมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายอยู่แล้ว ธนาคาร Digital-Only ต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อยในการที่จะเติบโตธุรกิจในประเทศไทย ยกตัวอย่าง เช่น ประเด็นการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการเปิดช่องทางการบริการใหม่อย่างเดียว การที่มีประชากรบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน คงไม่ได้เนื่องมากจากประเด็นช่องทางบริการเป็นหลัก แต่ คงสืบเนื่องมาจากประเด็นด้านรายได้มากกว่า เช่นกัน ปัญหาในการเข้าถึงบริการสินเชื่อมาจากปัญหาด้านรายได้ของประชากรต่างจังหวัด ซึ่งทำให้โมเดลการปล่อยสินเชื่อที่สำเร็จต้องอาศัยหลายองค์ประกอบที่มากไปกว่าการนำเสนอช่องทางให้บริการใหม่ๆ แต่ต้องมีการใช้ข้อมูลประเมินคุณภาพเครดิตที่ดี มีการส่งเสริมวินัยการเงิน ไปจนถึงการแก้ปัญหาด้านรายได้ภาคเกษตร เป็นต้น
  • นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยมีการให้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว  โดยธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีฐานลูกค้าใหญ่ที่สุดห้าราย ทั้งหมดมีช่องทางทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต ทำให้การที่ธนาคาร Digital-Only จะเพิ่มความสะดวกให้ผู้บริโภค ก็จะมีแต่ในขั้นตอนการเปิดบัญชี หรือการทำธุรกรรมบางชนิด นอกจากนี้ ยังมีการนำ Big Data มาผสมผสานกับ Machine Learning ในการนำเสนอสินเชื
  • ่อ
  • ต้นทุนในการทำธุรกิจยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งในมุมมองของประเทศไทยแล้ว การที่ประชากรไทยโดยรวมมีทักษะดิจิทัลในเกณฑ์ปานกลาง จะทำให้ต้นทุนด้านบุคลากรสูงยิ่งขึ้นไปอีก
  • ความสามารถในการเติบโตรายได้จำกัด  ธนาคาร Digital-Only เน้นโมเดลการให้บริการการเงินพื้นฐาน เช่น การรับฝากเงิน การทำธุรกรรมโอนเงิน-ชำระเงิน ที่ยังเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value-Added) ได้จำกัด โมเดลธุรกิจลักษณะนี้ จะทำให้โอกาสการเติบโตรายได้จำกัดตามไปด้วย
  • โดยสรุป โมเดลธุรกิจธนาคาร Digital-Only ยังคงต้องได้รับการพิสูจน์อยู่ นอกจากนี้ ยังคงมีคำถามประเด็นประโยชน์เชิงสังคมสำหรับประชากรไทยที่มีอัตราการเข้าถึงบริการทางการเงินสูงอยู่แล้ว และประเด็นด้านการกำกับที่ทางการยังต้องตอบให้ได้  


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม