Display mode (Doesn't show in master page preview)

27 เมษายน 2553

บริการ

ธุรกิจค้าปลีกปี’53: ลุ้นการเมืองสงบ...ดีดกำลังซื้อฟื้น (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2210)

คะแนนเฉลี่ย

จากสถานการณ์การเมืองที่ระอุขึ้นนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2553 ที่มีการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปตามจุดต่างๆทั่วกรุงเทพฯมาเป็นระยะๆ และเข้ามายึดพื้นที่การชุมนุมในย่านราชประสงค์ จนถึงล่าสุดก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ รวมถึงเหตุการณ์ระเบิดตามสถานที่ต่างๆนั้น ทำให้อารมณ์การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2552 ต้องสะดุดลง และส่งผลทางจิตวิทยาให้ผู้บริโภคจำนวนมากเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการหันไปจับจ่ายในศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้าย่านชานเมือง รวมถึงร้านค้าใกล้บ้าน/ใกล้ที่ทำงาน แทนการเดินทางเข้าไปในย่านใจกลางเมืองที่มีความเสี่ยง ซึ่งศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง รวมทั้งร้านค้าโชห่วยในพื้นที่ที่มีการชุมนุมและบริเวณใกล้เคียง ต่างก็ต้องปิดการให้บริการ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของกิจการ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องตามมา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาต่างๆ น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งๆที่ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นฤดูกาลขายที่สำคัญ และมีการวางแผนการจัดกิจกรรมทางการตลาดใหญ่ๆหลายรายการด้วยกันในบริเวณแยกราชประสงค์

โดยทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า หากเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าวสามารถคลี่คลายได้ภายในครึ่งแรกปี 2553 ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจมากขึ้น และผู้ประกอบการต่างสามารถกระตุ้นยอดขายได้จากเกมกลยุทธ์การตลาดที่เข้มข้น มูลค่าธุรกิจค้าปลีกโดยรวมอาจเติบโตร้อยละ 3-4 (ซึ่งต่ำกว่าประมาณการในช่วงก่อนเกิดการชุมนุมเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 6-7) แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อต่อเนื่องไปในครึ่งปีหลัง หรือทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จนยากที่จะฟื้นความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของประเทศไทยในสายตาของนานาประเทศ และอารมณ์การจับจ่ายของผู้บริโภคให้กลับคืนมาได้ภายในปลายปีนี้ มูลค่าธุรกิจค้าปลีกโดยรวมก็อาจจะเติบโตเพียงร้อยละ 1-2 ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงไม่ได้ขยายตัวหรือส่งผลกระทบไปสู่ต่างจังหวัด เพราะหากเป็นเช่นนั้น ผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกก็จะรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ข้างต้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


บริการ