Display mode (Doesn't show in master page preview)

29 กรกฎาคม 2553

บริการ

อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ : ช่องว่างการตลาดสูง...ผู้ให้บริการเร่งพัฒนาโครงข่ายช่วงชิงความได้เปรียบ (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2890)

คะแนนเฉลี่ย

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ ก้าวมามีบทบาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารแทนที่อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำที่อาจตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ไม่มากนัก ส่งผลให้จำนวนผู้ลงทะเบียนอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำลดลงอย่างต่อเนื่องจนในปี 2552 มีจำนวนเพียง 742,000 ราย ในขณะที่ผู้ลงทะเบียนบรอดแบนด์ขยายตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2,295,000 ราย นอกจากนี้ในตลาดบรอดแบนด์เอง ผู้ลงทะเบียนก็มีแนวโน้มปรับระดับความเร็วให้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4-5 Mbps จากเดิมที่นิยมที่ระดับต่ำกว่า 3 Mbps

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาพรวมตลาดบรอดแบนด์ปี 2553 น่าจะมีมูลค่าประมาณ 24,000-27,000 ล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 20.2-37.4 เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 41.7 หรือมีมูลค่าตลาด 19,916 ล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญที่น่าจะทำให้มูลค่าตลาดเติบโตได้ คือ จำนวนผู้ลงทะเบียนใหม่ซึ่งคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 2.8-3.2 ล้านราย เนื่องจากอัตราผู้ลงทะเบียนบรอดแบนด์ต่อจำนวนครัวเรือนที่มีเพียงร้อยละ 11.72 ซึ่งน่าจะมีช่องว่างการตลาดอยู่มากที่ผู้ให้บริการจะบุกตลาดเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดบรอดแบนด์ผ่านสายโทรศัพท์ และกลุ่มผู้ใช้ต่างจังหวัด

ส่วนปัจจัยด้านราคา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อัตราค่าบริการในแต่ละระดับความเร็วอาจปรับลดลงประมาณร้อยละ 15 แต่อย่างไรก็ดีแนวโน้มความต้องการใช้บรอดแบนด์ในระดับความเร็วที่เพิ่มขึ้น น่าจะลดแรงกระทบจากการปรับลดของราคา และน่าจะทำให้รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาโดยอยู่ในช่วง 700-725 บาท/เลขหมาย/เดือน

ดังนั้นจึงคาดว่าในปีนี้การลงทุนด้านโครงข่ายน่าจะถือเป็นภารกิจหลักของผู้ให้บริการ โดยตลอดปีนี้น่าจะมีเม็ดเงินในการลงทุนด้านโครงข่ายไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ยังไม่นับรวมการลงทุนเทคโนโลยีไวแม็กซ์ที่ยังต้องติดตามกรอบเวลาที่แน่ชัด รวมถึงโครงการถนนไร้สายของคณะกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่มอบหมายให้รัฐวิสาหกิจเปิดให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายทั่วประเทศ ซึ่งหากผ่านการพิจารณาในเดือนสิงหาคมนี้ คาดว่าจะก่อให้เม็ดเงินลงทุนถึงกว่า 15,000 ล้านบาท

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


บริการ