Display mode (Doesn't show in master page preview)

22 ตุลาคม 2556

การค้า

ส่องกล้องมองทวีปแอฟริกา: ตลาดการค้าและการลงทุนใหม่ที่น่าจับตาในอนาคต (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2419)

คะแนนเฉลี่ย

กระแสความน่าสนใจของทวีปแอฟริกาเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จากการที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐโมซัมบิก สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย และสาธารณรัฐยูกันดาอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ส.ค. 2556 ที่ผ่านมา เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการสานต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ภูมิภาคให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ทวีปแอฟริกาอาจจะดูเป็นพื้นที่ห่างไกลสำหรับนักลงทุนชาวไทย แต่มีหลายปัจจัยที่เอื้อต่อศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในพื้นที่แห่งนี้ โดยประเด็นสำคัญที่น่าสนใจในทวีปแอฟริกา ได้แก่ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกาที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สิทธิประโยชน์ทางการค้ากับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ การขยายตัวของชนชั้นกลางที่บ่งชี้ถึงศักยภาพในการซื้อที่มากขึ้น รวมถึง นโยบายส่งเสริมการลงทุนที่เปิดกว้าง

จากการที่มีทรัพยากรธรรมชาติและสถานะที่เอื้อต่อการลงทุนข้างต้น แอฟริกาจึงได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศในแถบเอเชียมีบทบาทสำคัญในการลงทุนในทวีปแอฟริกา โดยในปี 2554 มาเลเซียมีมูลค่าการลงทุนโดยตรงเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากฝรั่งเศสและสหรัฐฯและเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย นำหน้าจีนและอินเดีย

มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและแอฟริกาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดส่งออกในปี 2555 มีจำนวน 255,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 21,850 ล้านบาทหรือร้อยละ 9.35 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ทั้งปี 2556 ยอดส่งออกจากไทยไปยังทวีปแอฟริกาจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.7 มูลค่ารวมประมาณ 272,577 ล้านบาท (คิดเป็นประมาณร้อยละ 4 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย) ซึ่งนับได้ว่าเติบโตสูงกว่าตลาดในภูมิภาคอื่นๆ

นักลงทุนไทยยังมีศักยภาพในการเข้าทำตลาดในแอฟริกา ทั้งในแง่การค้าและการลงทุนจากจุดเด่นของทวีปแอฟริกาที่เอื้อต่อการขยายธุรกิจหรือเฟ้นหาวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติที่มี นอกจากนี้ แอฟริกายังมีความได้เปรียบด้านปริมาณและค่าจ้างแรงงานและสิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศชั้นนำ ซึ่งเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเลือกทวีปแอฟริกาเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมเบาซึ่งใช้แรงงานเข้มข้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า