24 มกราคม 2566
การค้า
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ประกอบกับฐานที่สูงในปีก่อนหน้าทำให้การส่งออกไทยเดือนธันวาคม 2565 หดตัวลึกที่ -14.6% (YoY) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มีมูลค่า 21,718.8 ล้านดอลลาร์ฯ ฉุดให้ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2565 เติบโตอยู่ที่ 5.5% (YoY) ... อ่านต่อ
FileSize KB
7 ธันวาคม 2565
ในช่วงโควิด-19 การค้าผ่านแดนเป็นเส้นทางสำคัญที่ช่วยระบายสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีนเนื่องจากเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือติดขัดจากการปิดเมือง ซึ่งการค้าผ่านแดนนอกจากจะเป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าแล้ว ยังเป็นเส้นทางใหม่ในการส่งสินค้าเข้าสู่ภาคใต้และภาคตะวันตกของจีนที่ยังมีศักยภาพในการบริโภค เป็นโอกาสขยายตลาดของสินค้าไทย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารฮาลาล ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป สินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบไทยอย่างยางพาราและเม็ดพลาสติก เป็นต้น... อ่านต่อ
24 มีนาคม 2565
การส่งออกในปี 2565 คงจะชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่ผู้ประกอบการไทยก็ควรจะเร่งเตรียมการเพื่อรับมือกับการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากธุรกิจที่ปรับตัวโดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันและมีความพร้อมรองรับการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตทั้งจากประเทศคู่ค้า และทางการไทย ... อ่านต่อ
26 ตุลาคม 2564
ในเดือนกันยายน 64 สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้นส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว อีกทั้งเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าหนุนให้การส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 17.1% จาก 8.9% ในเดือนสิงหาคม 64 โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกของไทยเติบโตได้ถึง 15.5% และ เมื่อหักสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและอาวุธขยายตัวได้ที่ 20.4% สะท้อนความต้องการสินค้าในตลาดโลกยังสูง... อ่านต่อ
27 กันยายน 2564
ในเดือนส.ค.สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ามีความรุนแรงขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียจนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคการผลิตกดดันให้ตัวเลขการส่งออกเติบโตชะลอตัวลงรวมถึงไทย ทำให้การส่งออกของไทยเดือนสิงหาคม 2564 ขยายตัวอยู่ที่ 8.93% ชะลอลงจาก 20.3% ในเดือนกรกฎาคม ... อ่านต่อ
23 กรกฎาคม 2564
ในเดือนมิ.ย. 64 การส่งออกของไทยขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 43.82% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าตลาดการณ์ที่ 38.1% ส่งผลให้การส่งออกไทยในครึ่งปีแรกเติบโตที่ 15.53% อย่างไรก็ตาม ระดับดังกล่าวไม่นับว่าสูงมากเมื่อเทียบการฟื้นตัวของการส่งออกของประเทศในภูมิภาคที่ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 20% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ทั้งนี้ การส่งออกไปในประเทศคู่ค้าสำคัญเติบโตแข็งแกร่งในเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปที่เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังกิจกรรมในหลายภาคส่วนเริ่มกลับมาเป็นปกติจากการเร่งฉีดวัคซีนภายในประเทศ ขณะที่การส่งออกไปในตลาดอาเซียนยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แม้ว่าหลายประเทศในอาเซียนจะยังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดและมีมาตรการคุมเข้มการระบาดที่เข้มงวด... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2564
... อ่านต่อ
25 มีนาคม 2564
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวดีกว่าที่เคยประเมินจากปัจจัยความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนและการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวเข้าสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ดังนั้นการส่งออกของไทยจึงได้รับอานิสงส์ไปด้วย โดยในเดือนก.พ. เศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวสนับสนุนให้ตัวเลขการส่งออกไทยหลังหักทองคำของไทยในเดือนก.พ.2564 สามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 4.01 YoY อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมตัวเลขการส่งออกหดตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.59 ... อ่านต่อ
19 มีนาคม 2564
การเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัว อานิสงส์ต่อภาพรวมการส่งออกของไทยปี 2564 กลับมาเติบโตสดใสร้อยละ 4.5 (กรอบประมาณการที่ร้อยละ 3.5-5.5) ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และจีนกลับมาเติบโตดีกว่าตลาดอื่นๆ ขณะที่การส่งออกสินค้าในภาพรวมก็ดีด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นหัวใจสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามวิถีใหม่ (New Normal) อาทิ สินค้า IT ถุงมือยาง สามารถเติบโตได้ต่อจากปีก่อน สินค้าที่ตอบโจทย์การบริโภคทั้งสินค้าจำเป็นและสินค้าคงทนต่างก็กลับมาขยายตัวได้ตามการฟื้นตัวของกำลังซื้อ รวมทั้งแรงหนุนด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทำให้การส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องอย่างน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติกเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการส่งออกในปีนี้ได้อีกทางหนึ่ง... อ่านต่อ
23 พฤศจิกายน 2563
ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในเดือนต.ค. ตัวเลขส่งออกไทยในเดือนต.ค. 2563 หดตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 6.71 YoY อยู่ที่ 19,376.68 ล้านเหรียญฯ อย่างไรก็ดี เมื่อหักสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธฯ การส่งออกจะหดตัวที่ร้อยละ 4.89 YoY ซึ่งหดตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก.ย. ในภาพรวมการส่งออก 10 เดือนแรกหดตัวร้อยละ 7.26 YoY โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ การส่งออกสินค้าเกษตรพลิกกลับมาหดตัวที่ร้อยละ 8.8 YoY หลังขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 YoY ในเดือนต.ค. โดยการส่งออกสินค้าเกษตรชะลอตัวลงเกือบทุกตัว โดยเฉพาะน้ำตาลทราย ขณะที่ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะปรับดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศ รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาด เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมยังหดตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.7 YoY... อ่านต่อ
24 สิงหาคม 2563
ส่งออกไทยในเดือนก.ค. 2563 อยู่ที่ 18,819 ล้านเหรียญฯ หดตัวร้อยละ 11.4 YoY อย่างไรก็ดี หากหักสินค้าเกี่ยวกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธฯ การส่งออกจะหดตัวที่ร้อยละ 13.0 YoY โดยการส่งออกทองคำพลิกกลับมาขยายตัวในเดือนก.ค. ที่ร้อยละ 37.2 YoY ตามทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและการบริโภคในต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ในขณะที่สินค้าที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ยังคงเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่มีการขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน เช่น ทูน่ากระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง ถุงมือยาง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ส่งผลให้ 7 เดือนแรก การส่งออกไทยหดตัวร้อยละ 7.7 YoY... อ่านต่อ
24 กรกฎาคม 2563
การส่งออกไทยในเดือนมิ.ย. 2563 หดตัวสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ฉุดภาพรวมส่งออกไทยครึ่งแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 7.1 YoY โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนมิ.ย. 2563 อยู่ที่ 16,444 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 23.2 YoY ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังรุนแรงและการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองหลายระดับในต่างประเทศ ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนแรงลง และสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลามากขึ้น ... อ่านต่อ
25 มิถุนายน 2563
COVID-19 เป็นจุดเปลี่ยนสำหรับธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการค้าชายแดนและผ่านแดนที่ต้องบริหารจัดการธุรกิจท่ามกลางรายได้จากการส่งออกที่หายไปตามกำลังซื้อของประเทศเพื่อนบ้านที่เผชิญวิกฤตเดียวกัน โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2563 ... อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2563
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ค. 2563 อยู่ที่ 16,278 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 22.5 YoY เป็นผลจากมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ 5 เดือนแรก ส่งออกไทยหดตัวร้อยละ -3.7 YoY โดยการส่งออกที่หดตัวในเดือนพ.ค.นับเป็นการหดตัวลึกที่สุดในรอบกว่า 10 ปี ... อ่านต่อ
22 พฤษภาคม 2563
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนเม.ย. 2563 ขยายตัว 2.12% YoY สวนทางกับมุมมองของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะหดตัว 4.6% จากมาตรการปิดเมือง โดยขยายตัวจากการส่งออกทองคำที่โตสูงถึง 1,103% และปัจจัยชั่วคราวอื่นๆ ... อ่านต่อ
24 เมษายน 2563
การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ในไตรมาส 1/2563 หดตัวที่ร้อยละ 2.7 (YoY) ซึ่งถ้าหักสินค้าที่เกี่ยวกับยุทโธปกรณ์และรถถังเพื่อการซ้อมรบที่ทำให้ฐานการส่งออกผันผวน ก็นับว่าสหรัฐฯ เป็นตลาดที่สามารถเติบโตได้ดีถึงร้อยละ 15.8 (YoY) โดยเบื้องหลังการเติบโตดังกล่าวได้อานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ผลักดันให้สินค้า HDDs และยางล้อที่เป็นสินค้าส่งออกหลักทำตลาดในสหรัฐฯ ได้สูงขึ้น ... อ่านต่อ
21 เมษายน 2563
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในไตรมาสที่ 1/2563 พลิกกลับมาขยายตัวในรอบ 5 ไตรมาส ที่ 0.9% YoY จากแรงหนุนของการส่งออกทองคำและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวดี ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากเป็นปัจจัยกดดันต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2563
การส่งออกสินค้าไทยในเดือนก.พ. 2563 ยังให้ภาพที่ปะปนจากหลายปัจจัยชั่วคราว ทั้งจากแรงหนุนของการส่งออกทองคำที่โตสูงต่อเนื่อง และแรงฉุดจากฐานสูงของการส่งคืนอาวุธยุทโธปกรณ์และระดับราคาน้ำมันดิบในปีก่อน ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อการส่งออกนำเข้าสินค้าไทยในวงที่จำกัด ... อ่านต่อ
24 กุมภาพันธ์ 2563
เศรษฐกิจโลกเผชิญความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หลังเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลกตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ผลักดันให้การส่งออกสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำในเดือนม.ค. 2563 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 299.6 YoY ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยในเดือนม.ค. 2563 กลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ที่ร้อยละ 3.35 YoY ทั้งนี้ หากหักมูลค่าการส่งออกทองคำออกแล้ว ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยหดตัวร้อยละ 1.45 YoY แต่นับว่าหดตัวน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้ที่ร้อยละ -2.95 YoY... อ่านต่อ
22 มกราคม 2563
การส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 246,244.5 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว 2.65% YoY ในขณะที่การนำเข้าสินค้าไทยในปี 2562 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 236,639.9 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว 4.66% YoY ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยเกินดุล 9,604.6 ล้านดอลลาร์ฯ นับเป็นการเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ของไทย... อ่านต่อ
25 พฤศจิกายน 2562
การส่งออกสินค้าไทยเดือนต.ค. 2562 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ผลจากการชะลอตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน การแข็งค่าของเงินบาท ฐานราคาน้ำมันดิบที่สูงในปีก่อน รวมถึงความผันผวนของมูลค่าการส่งออกทองคำ... อ่านต่อ
15 พฤศจิกายน 2562
การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 และการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างไทย-เมียนมา (IICBTA) เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นอกจากจะช่วยให้การขนส่งสินค้าประหยัดเวลาและต้นทุนแล้ว ยังนับเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ไทยเป็นตัวกลางเชื่อมโยงฐานการผลิตของทั้ง 3 ประเทศ (เมียนมา-ไทย-สปป.ลาว) เข้าด้วยกันได้อย่างไร้พรมแดน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความสะดวกดังกล่าวทำให้การส่งออกผ่านด่านแม่สอด จ.ตาก ทยอยกระเตื้องขึ้น หนุนการส่งออกชายแดนไทย-เมียนมาในภาพรวมปี 2563 ขยับขึ้นมาแตะ 1.05 ถึง 1.1 แสนล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0-8.0... อ่านต่อ
30 ตุลาคม 2562
การที่สหรัฐฯ ลดทอนสิทธิ GSP ที่ให้แก่สินค้าไทยบางรายการในครั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ส่งผลต่อการส่งออกไทยไปสหรัฐฯ ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสินค้าในรายการที่ถูกตัดสิทธิมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.1 ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปสหรัฐฯ ขณะที่ความเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเด็นการแข็งค่าของเงินบาท เป็นปัจจัยหลักที่เหนี่ยวรั้งการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ปี 2563 อ่อนไหวต่อเนื่องจากปีนี้ ... อ่านต่อ
21 ตุลาคม 2562
มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนก.ย. 2562 แม้จะหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ก็เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (Consensus) ซึ่งให้ภาพเดียวกันการส่งออกสินค้าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวแรงกว่าที่คาด และผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ... อ่านต่อ
20 กันยายน 2562
ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามการค้า ตลอดจนค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ให้หดตัวที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี มูลค่าส่งออกไทยเดือนสิงหาคม 2562 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวลึกในสินค้าส่งออกหลัก อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปยังตลาดสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวเป็นบวกสวนทางกับภาพรวม สะท้อนถึงผลบวกจากสงครามการค้าที่มีการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากตลาดจีน ในขณะที่การส่งออกทองคำในเดือนส.ค. ยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูงตามราคาทองคำในตลาดโลกที่สูงขึ้น ซึ่งหากหักมูลค่าการส่งออกทองคำ การส่งออกไทยในเดือนส.ค. 62 จะหดตัวที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี... อ่านต่อ
21 สิงหาคม 2562
ส่งออกทองคำพุ่งต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ช่วยหนุนภาพรวมส่งออกไทยเดือนก.ค. 2562 พลิกเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 5 เดือน แต่เมื่อหักมูลค่าส่งออกทองคำ ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยในเดือนก.ค. 2562 หดตัว 0.4% การส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 3/2562 น่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกจากการเร่งส่งออกนำเข้า (Front-loading) ก่อนที่สหรัฐฯ จะเริ่มเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนในช่วงปลายปี 2562 ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ยังขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อย แต่ประเด็นที่ยังต้องติดตามในช่วงที่เหลือของปี 2562 ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจโลกและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ รวมไปถึงประเด็นการแข็งค่าของเงินบาทที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการส่งออกสินค้าไทยตลอดปี 2562 ไว้ที่ 0.0% โดยมีกรอบการขยายตัวที่ -2.0% ถึง 1.0% ... อ่านต่อ
14 สิงหาคม 2562
ความขัดแย้งทางการเมืองในฮ่องกงทวีความรุนแรงขึ้นจนมาถึงขั้นปิดสนามบินฮ่องกงทำให้สูญเสียความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างฉับพลัน การขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าทางอากาศไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การส่งออกทางอากาศของไทยไปยังฮ่องกงมีปริมาณไม่มากนัก จึงไม่กระทบต่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศของไทยอย่างมีนัยสำคัญ... อ่านต่อ
22 กรกฎาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยืนประมาณการส่งออกสินค้าไทยตลอดทั้งปี 2562 ไว้ที่ 0.0% โดยมองว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง บรรยากาศการค้าโลกแม้ว่าจะไม่ได้ดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนกลับเข้าสู่เส้นทางการเจรจาอีกครั้ง แต่สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศจะไม่แย่ลงไปกว่าช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างจีนและสหรัฐฯ น่าจะออกมาตรการทางการเงินมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อภาพเศรษฐกิจโลกด้วย ซึ่งเมื่อประกอบกับฐานในปีก่อนที่ต่ำด้วยแล้ว ก็น่าจะช่วยประคับประคองการส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งปีหลังได้ ... อ่านต่อ
21 มิถุนายน 2562
ปัจจัยสงครามการค้าที่ส่งผลต่อภาพรวมการค้าโลกให้ชะลอตัวลงในวงกว้าง ส่งผลให้การส่งออกไทยในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ยังติดลบต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนพ.ค. 2562 มีมูลค่าอยู่ที่ 21,018 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 5.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) หดตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสแรกมาอยู่ที่ร้อยละ -2.7 YoY โดยเป็นการหดตัวในรายสินค้าส่งออกหลัก และในรายตลาดหลัก... อ่านต่อ
22 พฤษภาคม 2562
• เศรษฐกิจโลกชะลอตัว กดดันการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนเม.ย. 2562 หดตัว 2.57% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 • ทิศทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปี 2562 ยังเผชิญความท้าทายอยู่อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกที่ผันผวน วัฏจักรขาลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ความเสี่ยงที่ไทยจะอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ถูกติดตามในรายงานเรื่องการแทรกแซงค่าเงินของทางการสหรัฐฯ รวมถึงประเด็นเรื่องข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ปะทุขึ้นมาอีกระลอก ซึ่งส่งผลให้บรรยากาศการค้าโลกตึงเครียดมากขึ้น และเพิ่มเติมความเสี่ยงให้กับภาคการส่งออกสินค้าไทยในช่วงที่เหลือของปี 2562 ... อ่านต่อ
22 เมษายน 2562
- ปัจจัยเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ยอดขายคอมพิวเตอร์โลกหดตัว ปัจจัยฐานที่สูง และราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน กดดันการส่งออกสินค้าไทยในเดือนมี.ค. 2562 ให้หดตัวร้อยละ 4.9 YoY ฉุดส่งออกไทยไตรมาสที่ 1/2562 หดตัวร้อยละ 1.6 YoY - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากเดิมที่ร้อยละ 4.5 โดยให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกับปัจจัยเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะเข้ามากระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยตลอดทั้งปี 2562 ในขณะที่ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนแม้จะยังมีความไม่แน่นอนปรากฎอยู่ แต่ก็มีสัญญาณบวกถึงท่าทีที่ประนีประนอมกันมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งน่าจะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการค้าโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ... อ่านต่อ
21 มีนาคม 2562
• การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนก.พ. 2562 ขยายตัว 5.9% จากปัจจัยชั่วคราวที่มีการส่งออกอาวุธ กระสุน และส่วนประกอบที่นำเข้ามาใช้ในการซ้อมรบกลับไปยังสหรัฐฯ เมื่อหักลบมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้แล้ว การส่งออกสินค้าหดตัว 3.4% จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน วัฎจักรขาลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปัจจัยฐานที่สูง • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 ไว้ที่ 4.5% โดยยังต้องติดตามผลการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนเม.ย. 2562 และทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนในระยะข้างหน้า ... อ่านต่อ
12 กุมภาพันธ์ 2562
การส่งออกของไทยในปี 2018 ขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถูกผลักดันด้วยปัจจัยด้านราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกของไทยขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาโครงสร้างการส่งออกของไทยจะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณของการชะลอตัวและมีสัดส่วนที่ลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าขั้นกลางของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมนี้ที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องในอนาคต... อ่านต่อ
21 มกราคม 2562
21 ธันวาคม 2561
• การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนพ.ย. 2561 กลับมาหดตัว 0.95% เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการค้าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่ผ่อนแรงลง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2561 ชะลอลงมาอยู่ที่ 7.29% • ภาพการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2562 คาดว่า จะอยู่ที่ 4.5% (กรอบประมาณการที่ 2.0-6.0%) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากผลของฐานที่สูงในปีก่อน การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกที่คาดว่าจะเคลื่อนไหวในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อน รวมไปถึงผลของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ... อ่านต่อ
21 พฤศจิกายน 2561
- การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนต.ค. 2561 กลับมาขยายตัวดีที่ 8.7% สูงกว่า Consensus ที่ 4.5% หลังในเดือนก.ย. หดตัว 5.2 % โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ทองคำ น้ำตาลทราย และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับปิโตรเลียม - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า โดยปกติแล้ว มูลค่าการส่งออกไทยในเดือนต.ค.-พ.ย. จะอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลส่งออกสินค้าสำหรับเทศกาลปลายปี ทั้งเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving) รวมไปถึงคริสต์มาส และปีใหม่ ดังนั้น มูลค่าส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2561 น่าจะทำได้เฉลี่ยเดือนละใกล้เคียงกับตัวเลขในเดือนต.ค. ที่ 21,735 ล้านดอลลาร์ฯ หรือในกรณีที่ดีอาจจะสูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งก็จะทำให้มูลค่าส่งออกไทยทั้งปี 2561 อาจจะเติบโตได้ใกล้เคียง 8.0% ... อ่านต่อ
28 กันยายน 2561
การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของไทย 8 เดือนแรกของปี 2561 มีมูลค่า 9.2 แสนล้านบาท ขยายตัว 6.5% โดยการค้าผ่านแดนไปจีนตอนใต้มีอัตราการเติบโตสูงสุดที่ 24.2% โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าการค้าชายแดนของไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 11.5% ต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนโดยการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับจีนและเวียดนามเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดี อีกทั้ง ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นศูนย์กลาง E-Commerce และโลจิสติกส์ของภูมิภาค ซึ่งจะผลักดันให้การค้าชายแดนขยายตัวอีกทางหนึ่ง... อ่านต่อ
21 กันยายน 2561
การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนส.ค. 2561 มีมูลค่าอยู่ที่ 22,794 ล้านดอลลาร์ฯ นับเป็นมูลค่าส่งออกที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 6.7% YoY ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเปรียบเทียบที่สูงมากในปีก่อน ประกอบกับการส่งออกทองคำหดตัวมากถึง 66.6% ซึ่งเมื่อหักมูลค่าส่งออกทองคำแล้ว การส่งออกสินค้าของไทยขยายตัว 10.3% การเดินหน้าประกาศจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 200,000 ล้านดอลลาร์ฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยผ่านความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตกับจีน รวมถึงการไหลทะลักของสินค้าจีนมายังประเทศในภูมิภาค โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตอบโต้ทางภาษีในรอบ 200,000 ล้านดอลลาร์ฯ นี้ จะไปเห็นผลชัดเจนในปี 2562 ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินภาพการส่งออกในปี 2561 โดยได้รวมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีในรอบ 50,000 ล้านดอลลาร์ฯ เข้าไว้แล้ว ทำให้การส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 จะผ่อนแรงลงจากช่วงครึ่งปีแรก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองทั้งปี 2561 ไว้ที่ร้อยละ 8.8 ... อ่านต่อ
22 สิงหาคม 2561
- สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในเดือนก.ค. 2561: การส่งออกและการนำเข้าสินค้าของไทยขยายตัว 8.3% และ 10.5% ตามลำดับ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสุทธิขาดดุล 516.2 ล้านดอลลาร์ฯ - การส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ และจีนชะลอตัวในเดือนก.ค. 2561 ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยมูลค่าส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 21 เดือน ที่ -1.9% ในขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าไทยไปยังจีนขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 3.6% - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อนานาประเทศจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังมากกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยฐานที่สูงในปีก่อนที่จะทำให้เส้นทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ทั้งปี 2561 มูลค่าส่งออกสินค้าไทยน่าจะขยายตัวที่ 8.8% ... อ่านต่อ
20 กรกฎาคม 2561
การค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมิ.ย. 2561 มีมูลค่าเกินดุล 1,579 ล้านดอลลาร์ฯ จากมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงมากกว่ามูลค่าการส่งออก โดยการส่งออกขยายตัว 8.2% และการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 10.8% ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ขยายตัวที่ 11.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักๆ มาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีต่อเนื่องและวัฎจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนเส้นทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังให้ขยายตัวเป็นบวก แต่ชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรกมาอยู่ที่ 6.8% หรือมูลค่าส่งออกต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 21,939 ล้านดอลลาร์ฯ ส่วนหนึ่งจากปัจจัยเรื่องฐานที่สูงในปีก่อน ประกอบกับในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ตลอดทั้งปี 2561 การส่งออกสินค้าไทยคาดว่าจะเติบโต 8.8% ... อ่านต่อ
20 พฤศจิกายน 2560
มิติใหม่การเจรจาทวิภาคีกับสหรัฐฯ เริ่มขึ้นแล้ว หลังจากการเยือนเอเชียครั้งประวัติศาสตร์ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 5-14 พฤศจิกายน 2560 โดยเป็นก... อ่านต่อ
12 เมษายน 2560
ก้าวแรกของการจัดการการขาดดุลการค้าที่เรื้อรังของสหรัฐฯ เริ่มขึ้นแล้วนับจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามใน Executive Orders 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2... อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2559
25 ธันวาคม 2558
7 ตุลาคม 2558
6 ตุลาคม 2558
25 มีนาคม 2558
1 ธันวาคม 2557
3 กันยายน 2557
12 มิถุนายน 2557
21 พฤษภาคม 2557
20 ธันวาคม 2556
22 ตุลาคม 2556
2 ตุลาคม 2556
30 สิงหาคม 2556
21 กันยายน 2555
1 มิถุนายน 2555
20 พฤษภาคม 2554
1 มีนาคม 2554
11 สิงหาคม 2553
19 กุมภาพันธ์ 2553
6 พฤศจิกายน 2552
20 ตุลาคม 2552
21 กันยายน 2552
7 สิงหาคม 2552
10 มิถุนายน 2552
9 เมษายน 2552
22 มกราคม 2552
27 มิถุนายน 2551
20 มิถุนายน 2551
19 มีนาคม 2551
2 พฤษภาคม 2550
30 มีนาคม 2550
14 มีนาคม 2550
25 ธันวาคม 2549
30 มิถุนายน 2549
3 พฤษภาคม 2549
9 ธันวาคม 2548
7 ธันวาคม 2548
11 สิงหาคม 2548
30 มีนาคม 2548
22 มีนาคม 2548