Display mode (Doesn't show in master page preview)

9 เมษายน 2557

บริการ

ขนส่งทางน้ำ 57 ยังคงเติบโตจากภาคการส่งออกฟื้นตัวและการค้าชายแดนคึกคัก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2488)

คะแนนเฉลี่ย

การขนส่งทางน้ำนับว่าเป็นการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำที่สุด โดยสามารถขนส่งในปริมาณที่มากในคราวเดียวกัน ดังนั้น การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของไทยจึงเป็นการขนส่งทางน้ำหรือทางทะเลเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 88.8 ของการขนส่งระหว่างประเทศทั้งหมด อย่างไรก็ดี การขนส่งทางน้ำภายในประเทศยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร โดยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 15.2 ของการขนส่งภายในประเทศทั้งหมด ทั้งนี้ เนื่องจากการขนส่งทางถนนเข้ามามีบทบาทเพราะมีความสะดวก และรวดเร็วในการขนส่งมากกว่า

ภาพรวมของธุรกิจขนส่งทางน้ำในปี 2557 คาดว่า จะเติบโตตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยหนุนได้แก่ การฟื้นตัวของการส่งออก การปรับตัวขึ้นของดัชนีค่าระวางเรือ (BDI Index) และการขยายตัวของการค้าชายแดนจากการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมการขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ ในขณะที่การขนส่งทางน้ำภายในประเทศทั้งการขนส่งทางลำน้ำ และทางชายฝั่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าจับตามองสำหรับผู้ประกอบการ เนื่องเป็นวิธีการที่สามารถประหยัดต้นทุนในการขนส่งสินค้า ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนรวม อันจะเป็นการสร้างศักยภาพในการแข่งขันได้ โดยการขนส่งทางน้ำภายในประเทศยังคงมีโอกาสเติบโตอีกมาก เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำภายในประเทศที่มีศักยภาพ ซึ่งไหลผ่านในย่านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลทางใต้ และทางตะวันออกของไทยที่สามารถพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงของระบบการขนส่งทางน้ำระหว่างภาคตะวันออกและภาคใต้

โดยสรุป การขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ และภายในประเทศยังมีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาให้เติบโตได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการขนส่งทางน้ำภายในประเทศที่มีสัดส่วนที่ต่ำ แต่ยังคงมีประเด็นท้าทายจากปัญหาโครงสร้างทางด้านคมนาคมทางน้ำของไทยที่ยังขาดการพัฒนาอยู่หลายด้าน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ในภาคขนส่งและ
โลจิสติกส์ ทางน้ำ (ณ ราคาปีปัจจุบัน) ในปี 2557 จะมีมูลค่า 142,500-144,200 ล้านบาท โดยขยายตัวร้อยละ 6.8-8.1 จากปี 2556 ที่มีมูลค่าประมาณ 133,400 ล้านบาท

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


บริการ