Display mode (Doesn't show in master page preview)

26 กันยายน 2559

บริการ

ทางเลือกในการกินเจที่หลากหลายกดดันธุรกิจร้านอาหาร คาดกินเจปี'59 เม็ดเงินสะพัดร้านอาหารในกรุงเทพฯ 2,300 ล้านบาท (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2778)

คะแนนเฉลี่ย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารเจของคนกรุงเทพฯปี 2559 จากกลุ่มตัวอย่าง 480 คน ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่กินเจในปี 2559 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่ใช้บริการร้านอาหารเจ ทั้งการซื้ออาหารเจสำเร็จรูปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 โดยมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 88 บาทต่อมื้อ (เพิ่มขึ้นจาก 71 บาทต่อมื้อในปี 2558) และกินเจที่ร้านอาหารคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 โดยมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 96 บาทต่อมื้อ (เพิ่มขึ้นจาก 79 บาทต่อมื้อในปี 2558) ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างยังมีทางเลือกในการกินเจที่หลากหลาย ทั้งการใช้บริการร้านค้าสะดวกซื้อและโมเดิร์นเทรด แผงลอยขายอาหาร ผู้ให้บริการอาหารกลุ่มที่ไม่มีหน้าร้าน รวมถึงการประกอบอาหารเจเอง ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันร้านอาหารเจในปี 2559

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด​ว่า ในช่วงเทศกาลกินเจวันที่ 1-9 ตุลาคม 2559 นี้ น่าจะมีเม็ดเงินสะพัดร้านอาหารเจในกรุงเทพฯ 2,300 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5 จากในช่วงเทศกาลกินเจปี 2558 โดยเป็นการเติบโตอย่างชะลอตัวจากในปี 2558 ซึ่งเติบโตร้อยละ 10 สอดคล้องกับการเติบโตอย่างชะลอตัวของตลาดธุรกิจร้านอาหารในภาพรวม ที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดธุรกิจร้านอาหารในปี 2559 น่าจะมีมูลค่า 382,000-385,000 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 1.9-2.7 จากในปี 2558 โดยเป็นการเติบโตอย่างชะลอตัวจากในปี 2558 ที่เติบโตร้อยละ 4.0 ซึ่งนับเป็นความท้าทายของธุรกิจร้านอาหารตั้งแต่ในช่วงเทศกาลกินเจ ไปจนถึงเทศกาลเฉลิมฉลองในช่วงปลายปี 2559

โดยธุรกิจร้านอาหารอาจหลีกเลี่ยงภาวะการแข่งขันจัดโปรโมชั่นด้านราคา ด้วยการสร้างความแตกต่างที่ตอบโจทย์แนวโน้มการรับประทานอาหารของผู้คน อย่างการสร้างภาพลักษณ์ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ตอบโจทย์การรับประทานอาหารนอกบ้านในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองในช่วงปลายปีของลูกค้า นอกจากนี้ อาจขยายตลาดใหม่ๆ อย่างตลาดจัดเลี้ยงของกลุ่มองค์กร ที่มีแนวโน้มประหยัดงบประมาณการจัดเลี้ยงในช่วงปลายปี ด้วยการเลือกร้านอาหารเป็นสถานที่จัดเลี้ยงแทนการจัดเลี้ยงที่โรงแรม สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวได้นัก

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


บริการ