Display mode (Doesn't show in master page preview)

17 กุมภาพันธ์ 2564

อุตสาหกรรม

การเมืองเมียนมาเสี่ยงสูง...กระทบโอกาสผลิตรถในประเทศระยะยาว แต่อุปสงค์ในประเทศที่ชะลออาจทำให้ส่งออกรถจากไทยปี 64 โตเพียง 2% (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3189)

คะแนนเฉลี่ย

​หลังการยึดอำนาจของกองทัพในเมียนมา กระแสความกังวลของนักลงทุนได้กลับมาทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งต่อสถานการณ์ความสงบในประเทศ รวมถึงทิศทางนโยบายต่างๆที่จะออกมานับจากนี้ โดยอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายและข้อกฏหมายอยู่หลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในมุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทย แม้อดีตเมียนมาจะเป็นตลาดที่น่าสนใจต่อการเข้าไปลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศ จากการที่เมียนมาเป็นตลาดที่กำลังขยายตัว และนโยบายในช่วงที่ผ่านมาก็เอื้อต่อการประกอบรถยนต์ในประเทศ นอกจากนี้ รถยนต์เก่าที่ครองตลาดอยู่อีกกว่า 1 ล้านคันในปัจจุบันก็ถึงเวลาต้องทยอยเปลี่ยนเป็นรถคันใหม่หากมีระดับราคาที่เหมาะสมแล้ว แต่จากความเสี่ยงที่สูงทางการเมืองในปัจจุบัน อาจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนประกอบรถยนต์ในประเทศเมียนมา และทำให้การนำเข้ายังมีความจำเป็น

เมียนมาเผชิญกับความเสี่ยงในหลายทาง โดยเฉพาะการที่ค่ายรถอาจพิจารณาชะลอการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตจากเหตุการณ์การทางการเมืองในปัจจุบัน ขณะที่การผลิตรถยนต์ในประเทศยังไม่สามารถพัฒนาขึ้นมารองรับต่อตลาดรถยนต์ที่กำลังขยายตัวได้ทันนั้น รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจเดิมจากโควิด-19 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าแม้มูลค่าการส่งออกรถยนต์ของไทยไปเมียนมาจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่มากนักเพียง 2% - 4% หรือส่งออกได้ 86.5 ถึง 88.5 ล้านดอลลาร์ฯ จากที่ส่งออกได้ 84.8 ล้านดอลลาร์ฯในปีที่แล้ว

ในระยะยาว หากสถานการณ์ดีขึ้น และนักลงทุนตัดสินใจเดินหน้าลงทุนขยายโรงงานประกอบรถยนต์ในเมียนมา คู่แข่งที่รถยนต์ส่งออกจากไทยต้องเผชิญในตลาดเมียนมาอย่างแท้จริง คือ รถยนต์ที่ประกอบเองในประเทศเมียนมา โดยปัจจุบันเมียนมาสนับสนุนการนำเข้าชิ้นส่วน SKD เพื่อไปประกอบในประเทศ และในอนาคตมีแผนจะสนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศขึ้นด้วย ซึ่งในตอนนั้นไทยอาจได้อานิสงส์จากการเป็นฐานผ​ลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อส่งออกไปประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูปในเมียนมาที่กำลังขยายตัวขึ้น แต่ในทางตรงข้าม ย่อมทำให้การนำเข้ารถยนต์ทั้งคันในอนาคตจากไทยลดลงตามไปด้วย​

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม