10 มิถุนายน 2567
ท่องเที่ยว
... อ่านต่อ
FileSize KB
10 เมษายน 2566
21 ธันวาคม 2565
การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 กลับมามีบรรยากาศคึกคักอีกครั้งในรอบ 2 ปี ทั้งจากคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น และชาวต่างชาติที่มีแผนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงท้ายปีมากขึ้น ส่งผลให้ในระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 2565 ถึง 2 ม.ค 2566 คาดว่าจะมีเม็ดเงินกระจายสู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องคิดเป็นมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (ก่อนการระบาดของโควิด) ... อ่านต่อ
15 พฤศจิกายน 2565
ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2565 การท่องเที่ยวในประเทศน่าจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว บวกกับวันหยุดราชการกรณีพิเศษระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย. 65 ในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรีและสมุทรปราการ เนื่องจากมีการจัดการประชุมผู้นำเอเปคนั้น น่าจะช่วยหนุนให้มีการเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดมากขึ้น และจากผลสำรวจแผนการเดินทางท่องเที่ยวของคนกรุงเทพฯ ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2565 พบว่า กลุ่มตัวอย่างคนกรุงเทพฯ 3 ใน 4 วางแผนเดินทางท่องเที่ยวและเกือบทั้งหมดยังเลือกเที่ยวในประเทศ จากบรรยากาศดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2565 คนไทยเที่ยวในประเทศจะมีจำนวน 31.9 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 6.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2565
ในปี 2566 แม้มองว่าธุรกิจโรงแรมและที่พักยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่คาดว่า ในปี 2566 นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยจะฟื้นตัวได้เกือบเท่าตัวจากปี 2565 ซึ่งจะเป็นแรงบวกสำคัญของธุรกิจ เช่นเดียวกับกิจกรรมการจัดงานอีเว้นท์ การจัดประชุมสัมมนาน่าจะทยอยเพิ่มมากขึ้นจากปี 2565 แต่การฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมและที่พักยังเปราะบางและไม่ทั่วถึง ขณะที่ในระยะข้างหน้าต่อจากนี้ธุรกิจต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นจากตลาดนักท่องเที่ยวที่ยังมีความไม่แน่นอนและสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจ ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังมีมุมมองที่ระวังต่อการฟื้นตัว โดยอัตราการเข้าพักของสถานพักแรมทั่วประเทศทั้งปี 2566 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 52%-60% ยังต่ำกว่าปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 70.08% ขณะที่รายได้ธุรกิจโรงแรมและที่พักปี 2566 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5-6 แสนล้านบาท ต่ำกว่าก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิดเช่นกัน... อ่านต่อ
26 มีนาคม 2564
การท่องเที่ยวในประเทศช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า บรรยากาศการท่องเที่ยวน่าจะดีขึ้น แม้ในปีนี้การฉลองเทศกาลสงกรานต์จะแตกต่างจากในปีก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทางการจึงงดการจัดกิจกรรมการสาดน้ำ การจัดปาร์ตี้โฟมและคอนเสิร์ต แต่อนุญาตให้จัดกิจกรรมสงกรานต์ตามประเพณีทางศาสนาและสามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ กอปรกับในวันที่ 12 เม.ย. 2564 เป็นวันหยุดราชกรณีพิเศษ ส่งผลทำให้เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ มีวันหยุดราชการติดต่อกันถึง 6 วัน ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวได้ทำแคมเปญการตลาด เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งนับเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อตลาดท่องเที่ยวในประเทศ... อ่านต่อ
27 ตุลาคม 2563
จากผลสำรวจการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ ของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วน 77.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่การท่องเที่ยวยังมีความไม่แน่นอนสูง เมื่อกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าหากมีการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจะมีผลต่อการปรับแผนการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมถึงยังมีประเด็นการเมืองที่ต้องติดตาม ขณะที่ในส่วนของการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังมีความกังวลในเรื่องภาวะเศรษฐกิจส่งผลทำให้จำนวนความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวเฉลี่ยลดลง รวมถึงแผนการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อทริปปรับลดลงประมาณ 5.5% เมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน ... อ่านต่อ
18 มิถุนายน 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศของภาครัฐ จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 อีกทั้งยังน่าจะมีผลทางจิตวิทยากระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวและก่อให้เกิดการใช้จ่ายในสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลทางบวกเพิ่มเติมต่อทิศทางตลาดไทยเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้... อ่านต่อ
30 เมษายน 2563
สถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย และหากไม่เกิดการระบาดของโควิด-19 อีกครั้ง ตลาดไทยเที่ยวไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ก็น่าจะค่อยๆ กลับมา แต่เนื่องจากยังมีปัจจัยท้าทายจากเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่อ่อนแอและความเชื่อมั่นต่อการมีงานทำลดลง ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยทั้งปี 2563 อาจหดตัวประมาณ 52.3% ถึง หดตัวประมาณ 46.4% หรือมีการเดินทางประมาณ 79.5-89.5 ล้านคน-ครั้ง ขณะที่รายได้จากคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศน่าจะมีมูลค่าประมาณ 4.85-5.45 แสนล้านบาท หรือหดตัวประมาณ 55.1% ถึงหดตัวประมาณ 49.4% จากปีที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
22 ตุลาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2562 จากผลสำรวจ พบว่า คนกรุงเทพฯ มีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วน 76.9% ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กลุ่มตัวอย่าง 22.2% มองว่า มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว (ในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. 62) มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ภาคเหนือโดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ และจ.เพชรบูรณ์ ยังเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของคนกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 อย่างไรก็ดี คนกรุงเทพฯ มีการกระจายตัวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น... อ่านต่อ
20 สิงหาคม 2562
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวภายในประเทศ คือ 1. ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดนอกเขตภูมิลำเนาที่อายุ 18 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ลงทะเบียนได้รับ 1,000 บาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ และ 2. ผู้ที่ได้สิทธิ์ยังสามารถนำค่าใช้จ่ายจริงจากการเดินทางท่องเที่ยวมาขอคืนเงินได้อีก 15% ของค่าใช้จ่ายไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท ... อ่านต่อ
24 ธันวาคม 2561
บรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2562 ในช่วง 5 วัน ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2561 - วันที่ 1 มกราคม 2562 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติเและนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทยน่าจะก่อให้เกิดรายได้สู่ภาคการท่องเที่ยวประมาณ 47,430 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากมาตรการของภาครัฐร่วมกับแรงกระตุ้นจากฝั่งผู้ประกอบการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เทศกาลปีใหม่นี้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวรวมถึงการร่วมกิจกรรมการฉลอง Countdown ไปยังจุดท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็น Landmark ใหม่ๆ ซึ่งผู้ประกอบการในแหล่งธุรกิจท่องเที่ยวเดิมคงจะต้องมีการปรับแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น... อ่านต่อ
26 พฤศจิกายน 2561
นโยบายการกระตุ้นคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะการกระตุ้นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองผ่านมาตรการหักลดหย่อนภาษี รวมถึงการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ในประเทศที่เข้มข้นทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ตั้งแต่ต้นปี 2561 คนกรุงเทพฯ มีการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น และในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คนกรุงเทพฯ ยังมีแผนเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของจำนวนคนและจำนวนทริป จากผลสำรวจ จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวในประเทศของคนกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2561 นี้ พบว่า แม้มีการกระจายตัวไปเมืองท่องเที่ยวต่างๆ มากขึ้น แต่ราวร้อยละ 58.8 ของกลุ่มตัวอย่าง ยังคงเลือกเดินทางท่องเที่ยวในเมืองท่องเที่ยวหลัก เช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา และชลบุรี เป็นต้น ขณะที่อีกร้อยละ 41.2 เลือกเดินทางท่องเที่ยวไปยังเมืองท่องเที่ยวรอง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 นี้ คนกรุงเทพฯ เดินทางท่องเที่ยวในประเทศน่าจะก่อให้เกิดรายได้แก่การท่องเที่ยวเป็นมูลค่า 58,025 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ... อ่านต่อ
6 พฤศจิกายน 2561
หนึ่งในเทคโนโลยีและธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจการท่องเที่ยวโลก คือ Online Travel Agency (OTAs) ซึ่ง OTAs ที่ขับเคลื่อนโดยผู้เล่นหลักในระดับโลกมีแนวโน้มเพิ่มบทบาทและให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียมากขึ้น และปัจจุบันผู้ประกอบการด้านที่พักของไทยก็มีการใช้บริการ OTAs มากขึ้น โดยจากการประเมินโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า มูลค่ารายได้ค่าธรรมเนียมของ OTAs ที่ได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังไทย ในปี 2561 อาจอยู่ที่ 2.9-3.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 5.5 ของรายได้ค่าที่พักของนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทย ทั้งนี้ เนื่องจาก OTAs เป็นช่องทางด้านการขายและการตลาดที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้ประกอบการด้านที่พักของไทยจึงควรพิจารณาช่องทางนี้ ควบคู่กับช่องทางอื่นๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับโครงสร้างต้นทุนหรือรูปแบบทางธุรกิจของตน ... อ่านต่อ
23 สิงหาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางและมุมมองของนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวไทย พบว่า ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่น่าเดินทางท่องเที่ยวมากที่สุดในเอเชียคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.0 รองลงมา คือ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 18.8) และ มัลดีฟส์ (ร้อยละ 14.5) ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด นอกจากนี้ ผลสำรวจ พบว่า นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวไทยร้อยละ 53.0 เดินทางมากับบริษัทนำเที่ยว ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวเอง หรือ กลุ่ม FIT มีสัดส่วนร้อยละ 47.0 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม สำหรับสถานการณ์นักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทย แม้ว่าในเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยอ่อนตัวลงเล็กน้อยและมีโอกาสลดลงในเดือนถัดไป อย่างไรก็ดี ภาครัฐมีการทำตลาดกระตุ้นการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวจีน กอปรกับในส่วนของภาคธุรกิจที่ทำตลาดเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนอย่างเข้มข้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเที่ยวไทยน่าจะกลับมาดีขึ้น และทำให้ทั้งปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยน่าจะมีจำนวนประมาณ 10.9 ล้านคน (เพิ่มขึ้นจากที่คาดว่าจะมีจำนวน 10.6 ล้านคน) เติบโตร้อยละ 11.2 จากที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 ในปี 2560 ... อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2561
ความต่อเนื่องของการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวรัสเซียเที่ยวไทยต้องสะดุดลงระยะหนึ่ง จากการที่ประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 จากข้อมูลสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ในเดือน พฤษภาคม 2561 กลับมาหดตัวลงร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และนักท่องเที่ยวรัสเซียน่าจะยังมีจำนวนลดลงต่อระยะหนึ่งในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวรัสเซียน่าจะกลับมาทยอยฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากจบการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งกลุ่มชาวรัสเซียที่ได้รับประโยชน์จากความคึกคักของกิจกรรมเศรษฐกิจในช่วงฟุตบอลโลก 2018 ก็อาจจะมีแผนการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงที่เหลือของปีนี้ นอกจากนี้ ภายใต้กรณีที่บรรยากาศทั้งภายในและภายนอกประเทศยังเอื้อต่อการเดินทางท่องเที่ยว และปัญหาการค้าโลกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2561 นี้ จำนวนนักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางท่องเที่ยวในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 1.60 ล้านคน เติบโตร้อยละ 19.2 จากที่เติบโตร้อยละ 23.5 ในปี 2560 ... อ่านต่อ
11 เมษายน 2561
สถานการณ์ตลาดไทยเที่ยวไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า บรรยากาศคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จากปัจจัยหนุนเฉพาะอย่างความนิยมในการเดินทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่กลับมาเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวไทย อาทิ จ.กรุงเทพฯ และ จ.พระนครศรีอยุธยา รวมถึงวันหยุดยาวต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน โดยเฉพาะบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์ที่คนไทยจะเดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาเพื่อร่วมประเพณีสงกรานต์ รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วง 7 วัน (ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2561) ของการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ น่าจะก่อให้เกิดรายได้ในตลาดไทยเที่ยวไทยเป็นมูลค่าประมาณ 15,585.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และจากปัจจัยข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 นี้ มูลค่าตลาดไทยเที่ยวไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 515,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางเที่ยวในประเทศมีประมาณ 74.8 ล้านคน-ครั้ง เติบโตร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน... อ่านต่อ