22 มิถุนายน 2565
บริการ
ธุรกิจ Food Delivery เผชิญโจทย์ยากขึ้นหลังจากโควิดคลี่คลาย ความจำเป็นในการสั่งอาหารมาส่งที่พักลดลง ราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น … ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พัก หรือไรเดอร์ทำให้จำเป็นต้องหาวิธีการรับมือกับรายได้สุทธิที่ลดลง โดยกลุ่มตัวอย่างกว่า 70% ใช้เวลาทำงานรับออเดอร์ให้มากขึ้น เพื่อให้รายได้กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า ขณะที่ในระยะข้างหน้า การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น คงจะต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ของการจัดส่งอาหาร ทั้ง แพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร ร้านอาหาร และไรเดอร์เอง ทั้งนี้ ท่ามกลางโจทย์ธุรกิจที่มีความซับซ้อน การแข่งขันที่รุนแรง และต้นทุนธุรกิจทุกด้านปรับตัวเพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าธุรกิจจัดส่งอาหารน่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 – 5.0 หรือมีมูลค่าประมาณ 7.7 – 8.0 หมื่นล้านบาท ชะลอลงจากที่เติบโตร้อยละ 46.4 ในปี 2564... อ่านต่อ
FileSize KB
16 เมษายน 2563
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทั้งเชิงบวกและลบต่อธุรกิจ On-Demand ส่งผลให้มีการขยายตัวของมูลค่าตลาดในบริการบางประเภท ขณะที่บางส่วนกลับมีการหดตัวตัวลงอย่างมาก อย่างไรก็ดีศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในกลุ่ม On-Demand ที่ได้รับความนิยมในปี 2563 จะมีมูลค่าสุทธิที่ 1.42 แสนล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 32.5 จากสถานการณ์ปกติ ซึ่งหลังจากนี้คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ว่าจะคลี่คลายเมื่อไร... อ่านต่อ
30 มีนาคม 2563
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น จนส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารที่ต้องได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ชะลอตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อผนวกกับผลจากมาตรการปิดสถานประกอบการเป็นการชั่วคราว รวมถึงการออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโควิด-19 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 แม้รายได้จากช่องทาง E-Commerce และ Food Delivery จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 8,000 ล้านบาท แต่ก็คงไม่สามารถทดแทนรายได้หลักจากช่องทางหน้าร้านที่สูญเสียไป จึงทำให้โดยสุทธิแล้ว คาดว่ามูลค่าตลาดค้าปลีกและตลาดร้านอาหารจะลดลงรวม 72,000 ล้านบาทในช่วงเวลาดังกล่าว... อ่านต่อ
8 พฤศจิกายน 2562
ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการขนส่งทางบกไทยต้องเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรง เนื่องจากบริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติยักษ์ใหญ่ที่แต่เดิมเน้นให้บริการกับผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ กลับเริ่มขยายการลงทุนในประเทศไทยโดยเน้นการให้บริการกับผู้ผลิตที่ต้องการกระจายสินค้าภายในประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติยังให้เทคโนโลยีดิจิตัลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานโลจิสติกส์ ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่าผู้ประกอบการขนส่งไทย จึงทำให้ผู้ประกอบการขนส่งไทยได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้... อ่านต่อ