Display mode (Doesn't show in master page preview)

30 มีนาคม 2563

บริการ

ค้าปลีกและร้านอาหาร สู้โควิด-19 เร่งปรับตัวสู่ออนไลน์ ชดเชยรายได้หลักที่หายไป (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3093)

คะแนนเฉลี่ย

ผู้ประกอบการค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารยังคงจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่อไป เมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จนทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องออกมาตรการต่างๆ ทั้งมาตรการขอความร่วมมือปิดสถานประกอบการเป็นการชั่วคราว และล่าสุดได้มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดรุนแรงจนกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของประชาชน แน่นอนว่ามาตรการฯ ที่ออกมาย่อมส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากรายได้ของธุรกิจทั้ง 2 ประเภท ส่วนใหญ่มาจากการให้บริการหน้าร้าน/ในร้านเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารต่างเร่งปรับตัวเพื่อสร้างรายได้และประคับประคองธุรกิจให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติ โดยช่องทางที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้เร็วในภาวะเช่นนื้ คือ การเพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์มากขึ้น พร้อมกับการบริการส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกและการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านความปลอดภัย ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) และบริการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 8,000 ล้านบาท (แบ่งเป็น E-Commerce 6,800 ล้านบาท Food Delivery 1,200 ล้านบาท) เแต่ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์และเดลิเวอรี่ คงจะไม่สามารถชดเชยรายได้หลักที่หายไปได้ ทำให้มูลค่าตลาดธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารในช่วงเวลาดังกล่าวโดยสุทธิแล้วคาดว่ามูลค่าตลาดค้าปลีกและตลาดร้านอาหารจะลดลงรวม 72,000 ล้านบาทในช่วงเวลาดังกล่าว

สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2563 ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารยังคงต้องติดตามมาตรการที่มีแนวโน้มจะออกมาเพิ่มเติม ทั้งในมิติของการควบคุมโควิด-19 และการบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจและประชาชน ซึ่งอาจมีผลต่อธุรกิจในช่วงถัดๆ ไป

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม