19 เมษายน 2567
บริการ
... อ่านต่อ
FileSize KB
5 เมษายน 2567
14 กุมภาพันธ์ 2567
15 กันยายน 2566
28 ธันวาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยอดขายค้าปลีกปี 2566 จะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังอยู่บนความท้าทายรอบด้าน สอดคล้องไปกับทิศทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยในปี 2566 คาดว่า ตลาดอาจขยายตัวราว 2.8% - 3.6% (YoY) จากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผลของราคาสินค้าบางรายการที่ยังคงปรับสูงขึ้นตามภาวะต้นทุน รวมถึงมาตรการช้อปดีมีคืน และการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงเลือกตั้ง ที่น่าจะหนุนยอดขายค้าปลีกโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก... อ่านต่อ
14 กันยายน 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ยอดขายค้าปลีก Convenience store (CVS) ปี 2565 จะกลับมาฟื้นตัวราว 13-15% (YoY) จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหนุนทั้งการกลับมาของลูกค้าหลักอย่างพนักงานออฟฟิศและนักท่องเที่ยวต่างชาติภายหลัง สถานการณ์โควิดคลี่คลาย ราคาสินค้าบางรายการที่ปรับสูงขึ้น และการเปลี่ยนรูปแบบสาขาจากโชห่วยมาเป็นพันธมิตรหรือเครือข่ายของค้าปลีกรายใหญ่ อย่างไรก็ดี ท่ามกลางกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึงและการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ยอดขายค้าปลีก Convenience store ปี 2566 อาจขยายตัวชะลอลง และเมื่อมองไปข้างหน้า ภายใต้แผนการขยายสาขาที่ยังคงเพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การรักษายอดขายสาขาเดิม (SSSG) ให้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นับเป็นโจทย์ท้าทายสำคัญ เนื่องจากตลาดมีจำนวนร้านค้าหรือสาขาที่หนาแน่นมากแล้วหากเทียบกับฐานการบริโภคโดยรวม ซึ่งร้านค้าที่ได้ทราฟฟิกจากลูกค้าประจำอย่างสม่ำเสมอ จะมีโอกาสไปต่อในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็ว... อ่านต่อ
15 ตุลาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า จากสถานการณ์โควิดและการเข้าถึงวัคซีนที่เริ่มมีสัญญาณบวก จนทำให้ภาครัฐมีการคลายมาตรการล็อกดาวน์กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งเป็นจังหวะที่ธุรกิจต่างๆ ก็คงจะมีการออกแคมเปญทำตลาดเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้นด้วย ส่งผลให้คาดว่า ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 มีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวที่ 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว 1.2% โดยตัวขับเคลื่อนหลักน่าจะเป็นการใช้จ่ายในช่วงเดือนธันวาคมที่มีเทศกาลปีใหม่ และยังคงเป็นการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าจำเป็นอย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว ทั้งนี้ ประมาณการข้างต้น ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อเพิ่มเติมแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องถึงปี 2565 ทิศทางการฟื้นตัวของยอดขายธุรกิจค้าปลีกจะกลับมาแข็งแกร่งได้มากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคงจะขึ้นอยู่กับการจัดการสถานการณ์โควิด และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่ ความเปราะบางด้านกำลังซื้อของผู้บริโภคท่ามกลางค่าครองชีพที่เร่งตัว รวมถึงการแข่งขันที่เข้มข้น จะยังเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกต่อเนื่อง... อ่านต่อ
21 มิถุนายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมีมุมมองที่ระมัดระวังต่อค้าปลีกในช่วงที่เหลือของปี 2564 โดยคาดว่า ยอดขายค้าปลีกทั้งปีจะยังหดตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม จุดที่ต้องจับตา คือ การฉีดวัคซีนในช่วง 2-3 เดือนจากนี้ (มิ.ย.-ก.ย.) รวมถึงไม่มีการระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในช่วงที่เหลือของปีโดยเฉพาะไตรมาส 4 และเมื่อบวกกับมาตรการของภาครัฐ เช่น มาตรการคนละครึ่ง เฟส 3 รวมถึงมาตรการเพิ่มเติมภายใต้ พ.ร.ก. เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ทำให้มีความเป็นไปได้ว่ายอดค้าปลีกในภาพรวมปี 2564 อาจจะมีทิศทางที่ดีกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน (FMCG)... อ่านต่อ
29 กันยายน 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลจากมาตรการ 'คนละครึ่ง' ที่มีการจำกัดวงเงินการใช้จ่ายวันละไม่เกิน 150 บาท หรือคนละไม่เกิน 3,000 บาท (โดยรัฐจะจ่ายให้ 50% ของยอดใช้จ่าย ซึ่งไม่เกิน 3,000 บาท) เป็นจำนวน 10 ล้านคน น่าจะช่วยหนุนค้าปลีกในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2563 ให้หดตัวลดลงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 7.2 จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวถึงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ดังกล่าวจะกระจายไปยังร้านค้าปลีกที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกดั้งเดิม (Traditional trade) เช่น ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก โชห่วย ร้านธงฟ้า ซึ่งร้านค้าเหล่านี้นอกจากการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว อาจจะต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของสต็อกสินค้า ความสดใหม่และคุณภาพของสินค้า รวมถึงอาจจะอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งนี้ แรงส่งจากมาตรการฯ ดังกล่าว น่าจะทำให้ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกทั้งปี 2563 หดตัวประมาณร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ... อ่านต่อ
30 เมษายน 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ว่าการทยอยปลดล็อคมาตรการ Lockdown ของทางภาครัฐ จะช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกมีโอกาสกลับมาสร้างรายได้ผ่านช่องทางหน้าร้านอีกครั้ง แต่เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงอ่อนแรงต่อเนื่อง ประกอบกับยังไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย หากโควิด-19 กลับมาแพร่ระบาดรอบ 2 จึงคาดว่าภาพรวมการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกในปี 2563 น่าจะยังคงหดตัวราวร้อยละ 5-8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ... อ่านต่อ
30 มีนาคม 2563
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น จนส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารที่ต้องได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ชะลอตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อผนวกกับผลจากมาตรการปิดสถานประกอบการเป็นการชั่วคราว รวมถึงการออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโควิด-19 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 แม้รายได้จากช่องทาง E-Commerce และ Food Delivery จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 8,000 ล้านบาท แต่ก็คงไม่สามารถทดแทนรายได้หลักจากช่องทางหน้าร้านที่สูญเสียไป จึงทำให้โดยสุทธิแล้ว คาดว่ามูลค่าตลาดค้าปลีกและตลาดร้านอาหารจะลดลงรวม 72,000 ล้านบาทในช่วงเวลาดังกล่าว... อ่านต่อ
5 มีนาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่คาดว่าจะลากยาวไปจนถึงครึ่งปีแรก บวกกับกำลังซื้อของคนในประเทศที่ยังคงอ่อนแรงต่อเนื่อง จากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และภัยแล้ง ส่งผลให้คาดว่า ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกทั้งปี 2563 จะหดตัวราวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวออกไปหรือรุนแรงขึ้น ก็อาจจะทำให้มูลค่าตลาดค้าปลีกหดตัวถึงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หรือคิดเป็นเม็ดเงินค้าปลีกทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทยที่สูญหายไปประมาณ 150,000-200,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ที่น่าจะมีการใช้จ่ายที่ลดลง และอาจจะถูกแทนที่ด้วยกลุ่มสินค้าสินค้าอุปโภค-บริโภค (อาหารแห้ง ของใช้ส่วนตัว) รวมถึงหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ล้างมือ ซึ่งมีความจำเป็นและอาจมีการสำรองสินค้ากลุ่มนี้ไว้บ้าง ตามกำลังซื้อท่ามกลางความกังวลต่อ COVID-19... อ่านต่อ
8 พฤศจิกายน 2562
จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับสถานการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการค้าปลีกในกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า กว่าร้อยละ 60.0 ของผู้ประกอบการค้าปลีก มียอดขายที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ส่วนใหญ่ทำธุรกิจค้าปลีกสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง/น้ำมัน อุปโภคบริโภค) และในจำนวนดังกล่าวมีผู้ประกอบการค้าปลีกถึงร้อยละ 65.0 ที่ยังไม่มั่นใจกับผลประกอบการของตนเองว่าจะกลับมาฟื้นตัวหรือดีขึ้นเมื่อไร สะท้อนถึงความกังวลของผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในระยะข้างหน้า ท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัวและกดดันการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกอย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ยอดขายของค้าปลีกปี 2563 น่าจะเติบโตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7-3.0 เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.1 โดยค้าปลีกที่เจาะกลุ่มลูกค้าฐานรากและกำลังซื้อปานกลางลงล่างอย่างร้านค้าปลีกดั้งเดิมและไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็น Segment ที่คาดว่าจะยังคงเผชิญข้อจำกัดของการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค้าปลีกซูเปอร์มาร์เก็ตและ E-Commerce ที่เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อปานกลางขึ้นบนยังคงมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าค้าปลีกใน Segment อื่นๆ ... อ่านต่อ
11 ธันวาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เม็ดเงินใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 จะอยู่ที่ 30,800 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่ม 9,400 ล้านบาท รองลงมาคือ ท่องเที่ยวในประเทศ (ค่าเดินทางกลับบ้าน เดินทางท่องเที่ยว รวมถึงค่าที่พัก) 8,800 ล้านบาท ซื้อของขวัญ/ของฝาก 8,400 ล้านบาท การให้เงินพ่อแม่/พี่น้องเป็นของขวัญปีใหม่ 2,100 ล้านบาท ทำบุญ/ไหว้พระ 1,600 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ (อาทิ ดูหนัง ฟังเพลง บริจาคสิ่งของ) 500 ล้านบาท หรือมีงบประมาณใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 5,600 บาท และถึงแม้ว่าในปีนี้ มาตรการช็อปช่วยชาติจะไม่ได้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ในทุกหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค (เฉพาะหนังสือและสินค้า OTOP) แต่เชื่อว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกก็น่าจะมีการโหมจัดกิจกรรมกระตุ้นการขายในทุกกลุ่มสินค้าต่อเนื่องไปตลอดทั้งช่วงเทศกาล... อ่านต่อ
28 ธันวาคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องของธุรกิจ E-Commerce นับเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญของการดำ... อ่านต่อ
11 พฤศจิกายน 2557
13 มีนาคม 2557
7 มิถุนายน 2556
10 เมษายน 2556
14 มกราคม 2556
22 สิงหาคม 2555
18 กรกฎาคม 2555
5 เมษายน 2555
21 มีนาคม 2555
14 พฤศจิกายน 2554
12 เมษายน 2554
28 กันยายน 2553
27 เมษายน 2553
8 กันยายน 2552
25 มีนาคม 2552
5 กันยายน 2551
20 กุมภาพันธ์ 2551
5 เมษายน 2550
12 เมษายน 2549
3 มีนาคม 2549
5 สิงหาคม 2548
12 เมษายน 2548
11 กุมภาพันธ์ 2548