Display mode (Doesn't show in master page preview)

19 ธันวาคม 2551

เศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอย...จับตาแนวโน้มการลงทุนญี่ปุ่นในไทยปี 52 (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2382)

คะแนนเฉลี่ย

ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกและภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และมีแนวโน้มจะดำเนินไปจนถึงกลางปี 2552 ผนวกกับความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาเป็นปัจจัยท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของต่างประเทศในไทยที่ชะลอตัวลง โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 พบว่า มูลค่าโครงการลงทุนของประเทศญี่ปุ่นที่ยื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไทยลดลงที่ร้อยละ 30 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มการลงทุนจากญี่ปุ่นในประเทศไทยในปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัด ประเมินว่า ทิศทางการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของในปี 2552 ตามสภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะอ่อนแอของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่น่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานพาหนะอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ค่ายบิ๊กทรีของสหรัฐ ฯ ที่ต้องประสบปัญหาจนอาจส่งผลให้เกิดภาวะล้มละลาย ซึ่งอาจลุกลามไปยังอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก โดยอาจส่งผลให้ค่ายรถยนต์อื่น ๆ ของต่างประเทศ รวมทั้งค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์การลงทุนจากญี่ปุ่นในไทยอาจจะกลับฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่น่าจะปรับตัวดีขึ้น จากปัจจัยหนุนด้านมาตรการทางการเงินและการคลังของทางการญี่ปุ่นที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและช่วยเหลือภาคธุรกิจญี่ปุ่นให้มีฐานะการเงินดีขึ้นประกอบกับแผนการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลไทยระหว่างปี 2551-2552 รวมถึงข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งน่าจะส่งผลกระตุ้นการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยต่อไป สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไทยนั้น คาดว่า น่าจะมีความมั่นคงมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2552 หลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ซึ่งน่าจะช่วยดึงความเชื่อมั่นทางการลงทุนจากนักลงทุนญี่ปุ่นให้ฟื้นคืนมา ทั้งนี้ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัด เห็นว่า รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานเพื่อดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นให้เข้ามาขยายการลงทุนในประเทศไทยเช่น

Ø ควรสร้างบรรยากาศการลงทุนที่มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่น

Ø ควรใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและลดอุปสรรคการลงทุนในด้านหลักเกณฑ์และกฎระเบียบข้อบังคับด้านการลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและโอกาสให้แก่นักลงทุน

Ø ควรสนับสนุนโครงการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนที่มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคตซึ่งทางการไทยคาดว่า จะสามารถสร้างเม็ดเงินลงทุนมูลค่า 5-20 ล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหารแปรรูปที่นักลงทุนญี่ปุ่นเสาะหาฐานการผลิตที่มีศักยภาพเหมาะสมสำหรับป้อนกลับเข้าสู่ตลาดภายในประเทศญี่ปุ่น

Ø ควรสนับสนุนโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องเพื่อความพร้อมในการเป็นฐานการผลิตในสายตาของนักลงทุน

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ