Display mode (Doesn't show in master page preview)

28 เมษายน 2552

เศรษฐกิจไทย

ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่จากเม็กซิโก : ผลกระทบต่อการส่งออกของไทย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2156)

คะแนนเฉลี่ย

ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่จากเม็กซิโกหรือไข้หวัดเม็กซิโกกำลังเป็นปัญหาฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับนานาชาติ มีศักยภาพที่จะระบาดไปทั่วโลก ดังนั้นองค์การอนามัยโลกออกประกาศเตือนทั่วโลกระวังไข้หวัดเม็กซิโกระบาด โดยให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบและรายงานให้องค์การอนามัยโลกทราบ ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยกระดับการแพร่ระบาดจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ซึ่งหมายถึงการแพร่ระบาดมีความรุนแรงมากขึ้น กล่าวคือ ในระดับ 3 เป็นการแพร่ระบาดในสัตว์ และคนในวงจำกัด ส่วนระดับ 4 เป็นระดับการแพร่ระบาดจากคนสู่คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโอกาสการแพร่ระบาดในวงกว้างมากขึ้น

ประเทศไทยเตรียมรับมือกับการแพร่ระบาดเช่นเดียวกับนานาประเทศ โดยการตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดเม็กซิโก สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือ การเร่งทำความเข้าใจที่ถูกต้องถึงการแพร่ระบาดของโรค ทั้งนี้เพื่อลดความกังวลของผู้บริโภคที่อาจนำไปสู่การงดการบริโภคเนื้อหมู ซึ่งเป็นการสร้างความลำบากให้กับผู้ประกอบการในธุรกิจสุกรที่ปัจจุบันเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตสุกรอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ราคาจำหน่ายปลีกเนื้อสุกรเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆทดแทน

อย่างไรก็ตาม ไทยอาจได้รับอานิสงส์บ้างจากกรณีที่หลายประเทศระงับการนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น แต่อานิสงส์ที่จะได้รับนั้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนญี่ปุ่น โดยในกรณีที่คนญี่ปุ่นยังเลือกที่จะบริโภคเนื้อสุกรต่อไปก็เป็นโอกาสส่งออกเนื้อสุกรแปรรูปไปยังตลาดญี่ปุ่น แต่ผู้ประกอบการที่จะได้อานิสงส์นั้นจะเป็นผู้ส่งออกที่ผ่านการตรวจสอบทางด้านสุขอนามัยจากญี่ปุ่น และเป็นผู้ส่งออกที่ส่งออกเนื้อสุกรแปรรูปไปญี่ปุ่นอยู่แล้ว เนื่องจากคนญี่ปุ่นรู้จักและยอมรับในตรายี่ห้อแล้ว ขณะที่ประเด็นข้อจำกัดคือ การขยายปริมาณการผลิตอาจจะไม่ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น สำหรับอีกกรณีที่คนญี่ปุ่นไม่เชื่อมั่นที่จะบริโภคเนื้อหมู

รวมทั้งมีแนวโน้มว่าราคาเนื้อหมูในญี่ปุ่นมีแนวโน้มแพงขึ้น คนญี่ปุ่นอาจหันไปบริโภคเนื้อไก่หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลาทดแทนเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งผู้ส่งออกเนื้อไก่แปรรูปและผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลาจากไทยก็จะได้อานิสงส์นี้ไป ซึ่งไทยก็ครองตลาดเนื้อไก่แปรรูปและเนื้อปลาบดเป็นอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นอยู่แล้ว เท่ากับว่าเนื้อไก่แปรรูปและเนื้อปลาบดของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับของคนญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาประเด็นในด้านการผลิตและวัตถุดิบจะพบว่า การขยายการเลี้ยงไก่นั้นน่าจะใช้เวลาที่สั้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์จากปลาอาจมีประเด็นในเรื่องวัตถุดิบที่ไทยต้องนำเข้า นอกเหนือไปจากปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดญี่ปุ่น ดังนั้นคาดว่าผู้ที่น่าจะได้รับอานิสงส์จากกรณีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดเม็กซิโกนี้น่าจะเป็นผู้เลี้ยงและผู้ส่งออกไก่ของไทย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย